รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ไทยเรา มีปัญหาเรื่องอัตราการเกิด และอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ที่ต่ำลงกว่าในอดีตมาก และกำลังเป็นสังคมผู้สูงวัยแล้ว
เรื่องหนึ่งที่ควรพิจารณากันด่วน คือ พิจารณาเรื่องการปรับ "อายุเกษียณใหม่" ให้เพิ่มขึ้นเป็น 62-64 ปี เหมือนในต่างประเทศ ดีหรือไม่?
ตามข่าว อายุเกษียณเฉลี่ยของไทย คือ 58 ปี ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 หรือใช้มา 73 ปีแล้ว
ป.ล. ข้อมูลเพิ่มเติม : "ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ ปี 2564-2565-2566 อัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงเกินครึ่ง เหลือเฉลี่ยแค่ปีละ 500,000 คน ปี 2564 อัตราเกิด 544,570 คน อัตราตาย 550,042 คน ปี2565 อัตราเกิด 502,107 คน อัตราตาย 595,965 คน ปี 2566 อัตราเกิด คาดว่าจะอยู่ที่ 510,000 คน "
ป.ล.2 อธิบายเพิ่มเพื่อใครจะงง : คือ เอาง่ายๆ ว่า ถ้าเมื่อ30-40 ปีก่อน เกิดกันปีละ 1-2 ล้านคน แต่เดี๋ยวนี้เกิดกันปีละ 5 แสนคน (โดยอัตราตายใกล้ๆ เดิม หรือน้อยกว่าเดิมด้วยซ้ำ) เราก็จะมีประชากรน้อยลงเรื่อยๆ โดยมีโครงสร้างประชากรที่ผู้สูงอายุ มีอยู่มากกว่า วัยรุ่นและวัยทำงาน ครับ
ก็เลยเกิดปัญหาอย่างในข่าว ที่บอกว่าประเทศจะมีคนจำนวนมาก ที่ไม่ได้ทำงาน (เพราะเกษียณเร็ว) และต้องพึ่งพาสวัสดิการรัฐ (ที่ก็มีงบน้อยลง เพราะสังคมมีแรงงานน้อยลง รายได้ของรัฐก็น้อยลง)
เลยเป็นที่มาที่หลายประเทศ ใช้วิธีเพิ่มระยะเวลาเกษียณ เพื่อให้คนยังอยู่ในการทำงานครับ