นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย โพสต์ทวิตเตอร์ถึงร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน ฉบับที่… พ.ศ. … ระบุว่า
“ชุมชน” ควรมีสิทธิในการ “ถือครอง” ที่ดินหรือไม่?
การถือครองแตกต่างจากการ “ครอบครอง” หรือ “กรรมสิทธิ์” ตาม ป. ที่ดินฯ อย่างไร?
Land Code need to be amended to better serve the people.
ประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบันมีปัญหาทำให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนทำได้ยาก สมควรแก้ไขโดยด่วนครับ
แต่การกำหนดให้ชุมชนมีสิทธิ “ถือครอง” ที่ดินได้ โดยไม่บัญญัติให้ชัดเจนว่า
ชุมชนคืออะไร ? มีองค์ประกอบอย่างไร?
ต้องมีกี่คนขึ้นไป? ใน 1 ตำบลมีได้กี่ชุมชน?
หมู่บ้านถือเป็นชุมชนหรือไม่? ชุมชนมีกี่ประเภท?
เป็นนิติบุคคลหรือไม่ ? ใครคือผู้แทนชุมชน ?
ชุมชนบริหารงานอย่างไร ใช้เสียงข้างมากในระบบคณะกรรมการ หรือ ใช้การเลือกตั้งผู้นำชุมชน หรือ จะใช้ระบบทำนองเดียวกับสหกรณ์ หรือใช้ระบบ Trust ฯลฯ
การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชุมชน? ในบริเวณเดียวกัน หากมีหลายชุมชน ชุมชนใดควรจะเป็นผู้มีสิทธิในการถือครองที่ดิน? เมื่อได้ประโยชน์จากการถือครองที่ดินจะแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไรในชุมชน ใครควรจะได้รับประโยชน์บ้าง ในสัดส่วนเท่าใด?
ผลประโยชน์ของรัฐ และชุมชน? ชุมชน โอนสิทธิการ “ถือครอง” ที่ดินได้หรือไม่? ต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติครับ จึงต้องคิดให้ตกผลึกก่อนจึงจะดำเนินการครับ
นอกจากนี้ “สิทธิชุมชน” หรือ “คำนิยามชุมชน” หากจะกำหนดขึ้นควรตราเป็น พ.ร.บ. โดยเฉพาะ หรือกำหนดไว้ในกฎหมายทั่วไป มากกว่าประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ดินโดยเฉพาะครับ”
นอกจากนี้ ในการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรของนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ในร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน ยังได้กล่าวถึงประเด็นการยึดที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าด้วยว่า
“ประเด็นการยึดที่ดิน ที่รกร้างว่างเปล่า ที่กำหนดให้ระยะเวลาสั้นลงจาก 10 ปี เป็น 5 ปี จะก่อให้เกิดปัญหารุนแรง เป็นสิ่งที่ต้องฝากให้สภาพิจารณารอบคอบ” สส.บัญชีรายชื่อกล่าว
“ชุมชน” ควรมีสิทธิในการ “ถือครอง” ที่ดินหรือไม่?
การถือครองแตกต่างจากการ “ครอบครอง” หรือ “กรรมสิทธิ์” ตาม ป. ที่ดินฯ อย่างไร?
Land Code need to be amended to better serve the people.
ประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบันมีปัญหาทำให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนทำได้ยาก สมควรแก้ไขโดยด่วนครับ
แต่การกำหนดให้ชุมชนมีสิทธิ “ถือครอง” ที่ดินได้ โดยไม่บัญญัติให้ชัดเจนว่า
ชุมชนคืออะไร ? มีองค์ประกอบอย่างไร?
ต้องมีกี่คนขึ้นไป? ใน 1 ตำบลมีได้กี่ชุมชน?
หมู่บ้านถือเป็นชุมชนหรือไม่? ชุมชนมีกี่ประเภท?
เป็นนิติบุคคลหรือไม่ ? ใครคือผู้แทนชุมชน ?
ชุมชนบริหารงานอย่างไร ใช้เสียงข้างมากในระบบคณะกรรมการ หรือ ใช้การเลือกตั้งผู้นำชุมชน หรือ จะใช้ระบบทำนองเดียวกับสหกรณ์ หรือใช้ระบบ Trust ฯลฯ
การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชุมชน? ในบริเวณเดียวกัน หากมีหลายชุมชน ชุมชนใดควรจะเป็นผู้มีสิทธิในการถือครองที่ดิน? เมื่อได้ประโยชน์จากการถือครองที่ดินจะแบ่งปันผลประโยชน์อย่างไรในชุมชน ใครควรจะได้รับประโยชน์บ้าง ในสัดส่วนเท่าใด?
ผลประโยชน์ของรัฐ และชุมชน? ชุมชน โอนสิทธิการ “ถือครอง” ที่ดินได้หรือไม่? ต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติครับ จึงต้องคิดให้ตกผลึกก่อนจึงจะดำเนินการครับ
นอกจากนี้ “สิทธิชุมชน” หรือ “คำนิยามชุมชน” หากจะกำหนดขึ้นควรตราเป็น พ.ร.บ. โดยเฉพาะ หรือกำหนดไว้ในกฎหมายทั่วไป มากกว่าประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ดินโดยเฉพาะครับ”
นอกจากนี้ ในการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรของนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ในร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน ยังได้กล่าวถึงประเด็นการยึดที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าด้วยว่า
“ประเด็นการยึดที่ดิน ที่รกร้างว่างเปล่า ที่กำหนดให้ระยะเวลาสั้นลงจาก 10 ปี เป็น 5 ปี จะก่อให้เกิดปัญหารุนแรง เป็นสิ่งที่ต้องฝากให้สภาพิจารณารอบคอบ” สส.บัญชีรายชื่อกล่าว