เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานสถานะหนี้สาธารณะ วันที่ 31 มีนาคม 2567 และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567 ด้วยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 16 วรรคสอง กำหนดให้กระทรวงการคลังสรุปรายงานสถานะของหนี้สาธารณะและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในหกสิบวันหลังจากวันสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี โดยรายงานดังกล่าวต้องแสดง หนี้สาธารณะที่เกิดจากการกู้เงินและค้ำประกัน ณ วันสิ้นเดือนดังกล่าว รวมทั้งรายการการกู้เงินและค้ำประกันที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน ตามลำดับ
กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567 ดังนี้
1. รายงานสถานะหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม2567 มีจำนวน 11,438.153.99ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 63.67 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)โดยเป็น
หนี้รัฐบาล จำนวน 10,087188.39 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1,072,821.61 ล้านบาท
หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 202,269.17 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ จำนวน 111,874.82 ล้านบาท
รายละเอียดดังปรากฏตามตารางที่หนี้สาธารณะแบ่งตามอายุเงินกู้คงเหลือจะเป็นหนี้ระยะยาวซึ่งเป็นหนี้ที่จะครบกำหนด ชำระเกินกว่า 1 ปี จำนวน 9,695,775.99 ล้านบาท หรือร้อยละ84.50 และหนี้ระยะสั้นที่จะครบกำหนดชำระภายในไม่เกิน ๑ ปี จำนวน 1,778,378.00ล้านบาท หรือร้อยละ 15.50 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวนทั้งสิ้น 11,474,153.99 ล้านบาท ประกอบด้วย หนี้ต่างประเทศ (หนี้ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ) เทียบเท่าสกุลเงินบาท จำนวน141,359.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.23 และหนี้ในประเทศ (หนี้ที่เป็นสกุลเงินบาท) จำนวน11,332,794.51 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.79 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
กระทรวงการคลังขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567และรายการการกู้เงินและค้ำประกัน ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567 ดังนี้
1. รายงานสถานะหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม2567 มีจำนวน 11,438.153.99ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 63.67 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)โดยเป็น
หนี้รัฐบาล จำนวน 10,087188.39 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1,072,821.61 ล้านบาท
หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 202,269.17 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ จำนวน 111,874.82 ล้านบาท
รายละเอียดดังปรากฏตามตารางที่หนี้สาธารณะแบ่งตามอายุเงินกู้คงเหลือจะเป็นหนี้ระยะยาวซึ่งเป็นหนี้ที่จะครบกำหนด ชำระเกินกว่า 1 ปี จำนวน 9,695,775.99 ล้านบาท หรือร้อยละ84.50 และหนี้ระยะสั้นที่จะครบกำหนดชำระภายในไม่เกิน ๑ ปี จำนวน 1,778,378.00ล้านบาท หรือร้อยละ 15.50 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวนทั้งสิ้น 11,474,153.99 ล้านบาท ประกอบด้วย หนี้ต่างประเทศ (หนี้ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ) เทียบเท่าสกุลเงินบาท จำนวน141,359.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.23 และหนี้ในประเทศ (หนี้ที่เป็นสกุลเงินบาท) จำนวน11,332,794.51 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.79 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง