จากกรณีที่มีคลิปบนโลกสื่อออนไลน์ให้ข้อมูลเรื่อง นอนหลับหลัง 4 ทุ่ม อันตรายต่อสุขภาพ และมีความเสี่ยงทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้นนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
ทั้งนี้ ขณะหลับ นอกจากสมองจะผลิต Growth Hormone ออกมาแล้ว ยังมีการผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ที่นอกจากจะช่วยให้เราหลับสนิท แล้ว สารนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสารเมลาโทนินนี้ถูกสร้างมากที่สุดในเวลากลางคืนขณะหลับสนิทและห้องมืดสนิท ขณะเดียวกัน หากเรานอนดึก ตื่นสาย สารเซโรโตนิน (Serotonin) หรือสารที่ทำให้เรามีความสุขสดชื่นตลอดทั้งวันก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เกิดอาการเบื่อหน่าย อ่อนเพลียและเป็นโรคซึมเศร้าได้ หากนอนไม่ครบ 8 ชม. ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเลปติน (Leptin) น้อยลง ซึ่งสารตัวนี้มีบทบาทในการควบคุมความอยากอาหาร ดังนั้นหากอดนอนจะทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เราอ้วนได้ อีกทั้งยังทำให้ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ลดลง ระบบความทรงจำจะมีประสิทธิภาพลดลงด้วย
ทั้งนี้ ขณะหลับ นอกจากสมองจะผลิต Growth Hormone ออกมาแล้ว ยังมีการผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ที่นอกจากจะช่วยให้เราหลับสนิท แล้ว สารนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสารเมลาโทนินนี้ถูกสร้างมากที่สุดในเวลากลางคืนขณะหลับสนิทและห้องมืดสนิท ขณะเดียวกัน หากเรานอนดึก ตื่นสาย สารเซโรโตนิน (Serotonin) หรือสารที่ทำให้เรามีความสุขสดชื่นตลอดทั้งวันก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เกิดอาการเบื่อหน่าย อ่อนเพลียและเป็นโรคซึมเศร้าได้ หากนอนไม่ครบ 8 ชม. ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเลปติน (Leptin) น้อยลง ซึ่งสารตัวนี้มีบทบาทในการควบคุมความอยากอาหาร ดังนั้นหากอดนอนจะทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เราอ้วนได้ อีกทั้งยังทำให้ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ลดลง ระบบความทรงจำจะมีประสิทธิภาพลดลงด้วย