xs
xsm
sm
md
lg

“หมอดื้อ”เผยอาการโรควัวบ้าในมนุษย์หลังได้รับวัคซีนโควิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า โรควัวบ้าในมนุษย์หลังได้รับวัคซีนโควิด

ถือเป็นรายงานที่อธิบายคนป่วย ที่มาและเหตุผลและกลไกที่เกิดขึ้น ผ่านทางการวิเคราะห์ส่วนประกอบของไวรัสและของวัคซีน ได้อย่างละเอียด เป็นรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่ ส่วนตัวแล้วคิดว่าสุดยอดในรอบสองปี

ศาสตราจารย์ Luc montagnier (ได้รับรางวัลโนเบลในการพบไวรัสเอชไอวี )และคณะ รายงานผู้ป่วย 26 ราย ที่มีอาการแบบผิดแผก แตกต่างจากโรค CJD ทั่วไป ที่ปกติแล้วเจอได้หนึ่งในล้านคน โดยที่เกิดอาการ ของโรคโดยเฉลี่ย 11.38 วันหลังจากได้รับวัคซีน ไฟเซอร์ โดยมี 2 รายได้ โมเดนา และ 3 ราย แอสตร้า 20 รายมีชีวิตอยู่ได้เฉลี่ย 4.76 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนและแปดรายภายใน 2.5 เดือน
อีกหกรายที่เหลือที่ยังมีชีวิตก่อนเปิดเผยรายงานนี้ก่อนตีพิมพ์ ในกุมภาพันธ์ 2022 และการติดตามต่อมา อีกห้าราย ตายในเดือนสิงหาคม 2022

การวินิจฉัยรัดกุม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของอาการที่เกิดจนกระทั่งภาพคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง รวมทั้งการตรวจด้วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ PET scan รวมทั้งการตรวจน้ำไขสันหลัง และลักษณะผิดปกติของคลื่นสมองแบบจำเพาะของโรคนี้

อนึ่งไม่สามารถตรวจศพและสมองได้ เนื่องจากมีความหวั่นเกรง การติดเชื้อจากเนื้อสมองและไขสันหลังรวมทั้งอวัยวะภายในบางส่วน

รายละเอียดฉบับเต็มสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในวารสาร ข้อมูลของผู้ป่วย การดำเนินโรคที่รวดเร็วผิดปกติ

ในรายงานยังได้ทำการวิเคราะห์ ลักษณะที่เรียกว่า “glycine zipper motif ” GxxxG ที่มีส่วนสำคัญที่เอื้ออำนวยการเกิดโรคและ กรดอมิโน Y Q N G ที่เป็นตัวแปรที่สำคัญ และทำการวิเคราะห์โดยใช้ PLAAC software ในส่วนรหัสกรดอมิโนที่เอื้ออำนวยการเกิดพรีออน (Prion)
และใช้ Master Code of DNA ในการทดสอบและยืนยันหน้าที่ของโปรตีน พรีออน ที่ ผิดปกติ


แต่เรื่องของวัคซีนโควิดนี้ ถือเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรวดเร็ว รุนแรงและเสียชีวิตทั้งหมดเช่นกัน

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเกิด โรค คูรู CJD วัวบ้า จนกระทั่งติดต่อถึงมนุษย์ โดยมีลักษณะพิเศษ เรียกเป็น variant CJD และการปนเปื้อนในเนื้อเยื่อที่มาเปลี่ยนถ่ายให้มนุษย์จนกระทั่งถึงการใช้ฮอร์โมนที่สกัดจากศพและการปนเปื้อนในเครื่องมือแพทย์ในการผ่าตัด

หมอได้มีโอกาสเรียนกับ ผู้ที่ทำเรื่องนี้คือศาสตราจารย์ นพ ริชาร์ด จอห์นสัน (Richard T Johnson) และยังได้พบกับเพื่อนสนิทท่าน ดร คาร์ลีตัน การซ์ดูเซก (Carleton Gajdusek) ที่ได้รับรางวัลโนเบล จากการค้นพบโรค คูรู (Kuru) และพิสูจน์ว่าสามารถติดต่อได้ในลิง

คูรู เป็นชื่อโรค และตามภาษาพื้นเมืองของชนเผ่าโฟร์ ปาปัวนิวกินี หมายถึงอาการสั่นสะท้านจากไข้หรือหนาวซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอาการของผู้ป่วยที่มีอาการสั่นกระตุกเกร็ง การทรงตัวผิดปกติ ไม่สามารถก้าวเดินด้วยตัวเองได้จนกระทั่งในที่สุดนอนติดเตียงและมีอาการควบคุมอารมณ์ไม่ได้เช่นหัวเราะหยุดไม่ได้ (pseudubulbar palsy) และมีบันทึกก่อนหน้านี้ตั้งแต่ประมาณปี 1900 ในพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ไม่ห่างไกลกันนัก จนกระทั่งมากระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

จากรายงานของ ดร Gajdusek และ Zigas ในปี 1957 เป็นการค้นพบที่สำคัญและพิสูจน์ในระยะต่อมา ว่าสามารถติดต่อได้ ทั้งนี้เนื่องด้วยจากประเพณีของการกินศพแทบทุกส่วนยกเว้นถุงน้ำดี (นัยว่ามีรสชาติขมเกินไป)ของญาติมิตรที่เสียชีวิต (Endocannibalism) ซึ่งแตกต่างจากการกินศพของศัตรู
(exocannibalism)

ทั้งนี้ผู้หญิงและเด็กจะเป็นผู้ปฏิบัติการโดยการตัดมือและเท้าออก หลังจากนั้นจะทำการเลาะเปิดกล้ามเนื้อ และต่อมาทำการเปิดกะโหลกเพื่อเก็บเนื้อสมอง ดังนั้นเนื้อ เครื่องในและสมองจะถูกเก็บกินหมด รวมกระทั่งถึงไขกระดูก จะถูกดูดออกมากิน ส่วนตัวกระดูกนั้นบางครั้งเอามาป่น และต้มกินกับผัก

มีการพยายามสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุการเกิดโรคตั้งแต่ปี 1951 และในท้ายสุด ดร. Gajdusek สรุปว่าการติดเชื้อสามารถผ่านได้จากการที่เนื้อสมองปะปนเข้าทางทางเยี่อบุตา ผิวหนังที่มีแผลและการกิน และปรากฏในบทหนึ่งของตำราไวรัสวิทยาที่ ดร Gajdusek เขียนเกี่ยวกับเรื่อง คูรูในเวลาต่อมา

ในระยะแรกนั้นคณะผู้ทำงานทั้งหมดยังคงเชื่อว่าเกิดขึ้นจากไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคช้าๆ (slow virus) แต่น่าประหลาดตรงที่ว่าเมื่อตรวจสมอง จะพบว่ามีช่อง (vacuole)ในเซลล์สมอง เหมือนกับที่พบในแกะ ที่มีอาการคล้ายคลีง กัน คือมีอาการคัน สั่น และมีอาการทางสมอง เรียกว่า โรค scrapie และไม่ได้มีลักษณะของการอักเสบที่มีเซลล์อักเสบแทรกเข้าไปในเนื้อสมองเหมือนกับที่เจอใน โรคสมองอักเสบทั่วไป นอกจากนั้นมีลักษณะอื่นๆที่เรียกว่าเป็นการกระจุกตัวของโปรตีน อมิลอยด์ ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงอื่นๆของเซลล์สมองและเซลล์ประกอบอื่นๆ

การที่เรียกว่าเป็น slow virus เนื่องจากจะมีระยะเวลาก่อนที่จะเกิดโรค เป็นปีอาจจะยาวนานตั้งแต่ 3 ปีถึง 6 ปีไปจนกระทั่งถึง 10 ถึง 14 ปี และเมื่อเกิดโรคแล้วกว่าจะเสียชีวิตก็เป็นหลายๆเดือนถึงเป็นปี

การทดลองต่อมาพิสูจน์ว่าเนื้อสมองจากคนป่วยที่เป็นโรคสามารถถ่ายทอดไปยังสัตว์ในตระกูลลิงและยังรวมไปถึงแพะ หนู กินนีพิค เกอร์เบิล แฮมสเตอร์ เฟอเร็ท มิ๊งค์ โดยที่มีระยะฟักตัวต่างๆกัน ทำให้ ดร Gajdusek ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1976

ในระยะต้นมีการเปรียบเทียบโรค คูรู กับโรคทางสมองที่ค่อยๆเป็นทีละน้อยที่เรียกว่า CJD (Creutzfeldt-Jakob disease) แต่อาการไม่เหมือนกันนัก โดยที่ คูรู อาการเด่นเป็นเรื่องของการเคลื่อนไหว ทรงตัวแต่ใน CJD เป็นเรื่องความจำผิดปกติก่อน แต่ในที่สุดก็มีความเชื่อมโยงกับ CJD ที่เกิดจากกรรมพันธุ์โดยมีรหัสพันธุกรรมที่ควบคุมการสร้างโปรตีนพรีออน(prion) แปรเปลี่ยนไป และนอกจากนั้นอาการและอาการแสดง ความเร็วช้าของการดำเนินโรค ยังถูกควบคุมด้วยรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งจำเพาะ ที่ 129 (codon 129) และด้วยชนิดของโปรตึน (prion strain) อีกด้วย

ในปี 1997 ดร Stanley Prusiner ได้รับรางวัลโนเบลจากการที่พิสูจน์ว่าโรคทั้งหลาย ที่ได้กล่าวไปทั้งหมดเกิดขึ้นจากโปรตีนที่ติดต่อได้ เรียกว่า Prion โดยมาจากคำว่า PRotein และ infectIONและเป็นรูปแบบของโปรตีนที่มีเกลียวผิดปกติหรือ misfolded protein และสามารถทนต่อการทำลายได้ทุกชนิดไม่ว่าจะด้วยสารเคมี ความร้อนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ยกเว้นแต่การให้ความร้อนสูงในแรงอัดมากขึ้น จะทำให้ความสามารถในการติดต่อลดลง

โรคโปรตีนบิดเกลียวนี้ เป็นแกนกลางในการอธิบายการเกิดโรคสมองเสื่อมทุกชนิดตั้งแต่ อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และ แม้แต่โรคไขสันหลังฝ่อ (ALS หรือ motor neuron disease)

จากปฐมบทของ คูรู ในเวลาต่อมาทำให้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างชัดเจนกับโรค CJD ทั้งชนิดที่เกิดแบบกรรมพันธุ์และแบบที่เกิดขึ้นเอง (sporadic) และพ้องกับโรคที่เกิดในแกะ ลา กวาง

จนกระทั่งเมื่อเกิดระบาดสะท้านโลก นั่นก็คือโรควัวบ้า ในประเทศอังกฤษโดยเริ่มตั้งแต่ปี 1986 และอีก 10 ปีต่อมาคือในปี 1996 จึงเกิดโรควัวบ้าในคน ที่เรียกว่า variant CJD ที่ติดต่อโดยการกินเนื้อที่ปนเปื้อนด้วยเศษของเส้นประสาทหรือการกินเนื้อบด ไส้กรอก ที่ทำจากส่วนต่าง ๆ รวมกระทั่งถึงอวัยวะภายในที่มีใยเส้นประสาทปนอยู่

การเกิดวัวบ้าในวัวนั้นอธิบายจากการที่เอาเนื้อของแกะและกระดูกมาบดป่น โดยการให้ความร้อนแต่เนื่องจากต้องการประหยัดจึงลดความร้อนลงและเอามาให้วัวกิน โดยปกติโรค พรีออน จะไม่สามารถติดต่อผ่านจากสิ่งมีชีวิตจากตระกูลหนึ่งไปยังอีกตระกูล เนื่องจากมีมาตรการป้องกันธรรมชาติ (species barrier) แต่ถ้าเมื่อใดที่โปรตีนติดเชื้อมีปริมาณสูงก็จะสามารถทำลายปราการป้องกันนี้ได้

และข้อสำคัญคือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิดตามรายงานนี้ ทำให้ต้องมีความตระหนักผลกระทบและอาจจะทำให้พลาดโอกาสในการวินิจฉัยโรคนี้ว่า เป็นสาเหตุเกี่ยวพันกับวัคซีน เพราะคิดไม่ถึง เนื่องจากเสียชีวิตในระยะเวลาสั้นเพียงสองสามเดือนเท่านั้น