xs
xsm
sm
md
lg

“หมอวรงค์”เผย“เศรษฐา”ซื้อเวลาเงินหมื่นสุดท้ายทำไม่ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า เศรษฐาซื้อเวลาเงินหมื่นสุดท้ายทำไม่ได้

แปลกใจไหมครับ ทำไมวันที่นายเศรษฐาแถลงเรื่องดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จึงมีบทสรุปแค่ ครม.เห็นชอบหลักการ ของโครงนี้ แต่ยังไม่ใช่อนุมัติโครงการ แถมนายเศรษฐายังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า

"ส่วนข้อห่วงใยใดๆเช่นประเด็นอำนาจหน้าที่ของ ธกส. ได้สั่งการหากมีประเด็นข้อสงสัยใดๆให้ส่งเรื่องไปสอบถามยังกฤษฎีกา"

ทำไมรัฐบาลจะทำโครงการใหญ่ขนาดนี้ ระดับนายกลงมาแถลงเอง เป็นครั้งที่สาม ยังไม่มีความชัดเจน ไม่ปรึกษากฤษฎีกาให้เรียบร้อย ก่อนที่จะมาแถลง โดยเฉพาะ ประเด็นการใช้เงินของธกส. ตามมาตรา28 ของ พรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561

ผมคิดว่านายเศรษฐาคงซื้อเวลา และสุดท้ายโครงการทำไม่ได้ หรืออาจต้องลดขนาด เพราะผมได้คุยกับ อดีตคนธกส.ที่มีส่วนร่วมแก้ไข มาตรา9 ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. ได้ข้อสรุปชัดเจนว่า ไม่สามารถเอาเงินธกส.ไปแจกได้

ท่านผู้นี้จึงได้เขียนคำอธิบาย ว่าทำไมทำไม่ได้มาให้ผมช่วยเผยแพร่ ให้ประชาชนเข้าใจ

ขอบวัตถุประสงค์ ธกส. กำหนดไว้ใน พรบ. ธกส. มาตรา9 มี4 ข้อคือ มาตรา9(1)(2)(3)และ(4) ที่ผ่าน มา ธกส.ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นนโยบายจากภาครัฐหลายโครงการที่สำคัญๆ คือ

1. โครงการรับจำนำข้าวธกส.ดำเนินการภายใต้ขอบวัตถุประสงค์มาตรา9(1) ข้อ(ก)…..ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม….

2. โครงการประกันรายได้ ธ.ก.ส. ดำเนินการภายใต้ขอบวัตถุประสงค์มาตรา9(1)ข้อ(ง) ….ดำเนินกิจการตามโครงการที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการ ประกอบเกษตรกรรม..เพื่อเพิ่มรายได้

3. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผู้ปลูกข้าว(จ่ายไร่ละ 1000 บาทสูงสุดไม่เกินคนละ 20 ไร่) ธกส. ดำเนินการ ภายใต้ขอบวัตถุประสงค์มาตรา9 (1)ข้อ(ง)…ดำเนินกิจการตามโครงการที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรม…เพื่อเพิ่มรายได้

สำหรับโครงการดิจิตอล Wallet จ่ายคนละ 10,000 บาทรายที่เป็นเกษตรกรมอบหมายให้ ธกส. ดำเนินการตามพรบ. วินัยการเงินการคลังมาตรา 28 ซึ่งให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจตามกฏหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น

ตามมาตรา9(1) ข้อ(ง)โครงการดิจิตอล Wallet จ่ายคนละ 10,000 บาทไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ข้อนี้ ดังนี้

(1) ไม่ได้เป็นโครงการที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรมเพราะโครงการมีวัตถุประสงค์กระตุ้นเศรษฐกิจ เกษตรกรผู้รับเงิน 10,000 บาทนำไปใช้จ่ายดำรงชีวิตทั่วไป ไม่ได้นำไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างชัดเจน

(2)ไม่ได้เป็นโครงการที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้….เพราะเกษตรกรผู้รับเงิน 10,000 บาทสามารถนำใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องการประกอบอาชีพจึงไม่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบกิจการเพื่อเพิ่มรายได้

(3)ไม่ได้เป็นโครงการที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิต…เพราะ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามกฎกระทรวง ท้ายมาตรา9 ขยายความมาตราเก้า(1)ข้อ(ง) นี้จะต้องเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับการการศึกษา,การอบรม,การดูงาน,การรักษาพยาบาล,การปรับปรุงการจัดหาที่อยู่อาศัยเท่านั้น

สำหรับวัตถุประสงค์ ของธกส. ตามมาตรา9(3) นั้นเนื่องจาก มาตรานี้เป็นมาตราที่มีการเพิ่มเติม เพื่อขยายวัตถุประสงค์ของ ธกส. ใน ปีพ.ศ. 2549 (ธกส.จัดตั้งปี 2509) โดยสภาฯ เห็นชอบให้ ธกส. ขยายบทบาทจากการให้ความช่วยเหลือจากเดิม ได้เฉพาะเกษตรกรตามมาตรา9(1) ให้สามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการบริหารจัดการไปยังกลุ่มอื่นๆ ..ได้แก่..บุคคลกลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการ กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน..ทั้งนี้ เพื่อให้ธกส. สามารถ ให้ ความช่วยเหลือเกษตรกร..ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่สินค้าเกษตร ตั้งแต่ การผลิต การแปรรูป การตลาด…

ดังนั้น การพิจารณา การดำเนิน โครงการดิจิตอล Wallet จ่าย10,000 บาท แก่ เกษตรกร ว่าอยู่ ในขอบวัตถุประสงค์ของ ธกส. หรือไม่นั้น จึงให้พิจารณา ขอบวัตถุประสงค์ ธกส. ในมาตรา9(1) ที่เป็น วัตถุประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือ เกษตรกร

ส่วน มาตรา9(3) เป็นวัตถุประสงค์สำหรับกลุ่มอื่น ..ได้แก่…บุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการ กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน..(บุคคลหมายถึง คนที่ประกอบอาชีพ ที่ไม่ใช่เกษตรกร ก็ได้ )โดยมีการระบุ เจตนารมณ์ การเพิ่มเติมมาตรานี้ ไว้ อย่างชัดเจน ในเอกสารประกอบ การขอแก้ไข พรบ. ธกส. ปี 2549 เอกสารการบันทึก การอภิปราย ในสภาฯ

รวมทั้ง ได้มีการออกกฎกระทรวง ปี 2550 มารองรับ อย่างชัดเจนเพื่อให้เป็นไป เจตนารมณ์ ของสภาฯ ว่า ……การให้กู้ กับกลุ่มอื่น …ตามมาตรา9(3) นี้ ต้องไม่เกิน ร้อยละ20 ของยอดเงินกู้ที่จ่าย ทั้งหมด ในรอบปีบัญชี (ต้องเป็นเงินกู้ไม่ใช่แจกเงิน)

นอกจาก มาตรา9(3) มีการเขียนคำว่า…..สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชนบท….ไว้ ซึ่งมีความหมายให้ธกส. ให้ความช่วยเหลือกลุ่มอื่นๆได้นอกเหนือจากเกษตรกรที่ระบุในขอบวัตถุประสงค์ไว้แล้วในมาตรา9(1) ยังมีคำว่า….การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ…..จะถูกระบุรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงปี 2550 ข้อ6(2) ..ส่วนการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน…ก็ถูกระบุรายละเอียด ไว้ในกฎกระทรวงปี 2550 ข้อ6(3)..

-ยกตัวอย่าง…โครงการที่ธกส. สนับสนุน ตามกฎกระทรวง ข้างต้น เช่น ชุมชน ก. ขอสินเชื่อ ธกส. ไปดำเนินการจัดหาน้ำดื่มสะอาดให้กับคนในชุมชน…ซึ่งเป็นการจัดหาปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตให้กับชุมชน….

หรือชุมชน ข. ขอสินเชื่อ ธกส. ไปจัดหา ปรับปรุงบ้านพักผู้สูงอายุ..ซึ่งเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน…

-ทั้ง2 กรณี เป็นไปตามกฎกระทรวงปี 2550 ข้อ6(3) ข้อ(ข)และ(ง)

สรุปอีกครั้ง ว่าการพิจารณา การดำเนิน โครงการดิจิตอล Wallet จ่าย10,000 บาท แก่ เกษตรกร ว่าอยู่ ในขอบวัตถุประสงค์ของ ธกส. หรือไม่นั้น ให้พิจารณา ขอบวัตถุประสงค์ ธกส. ในมาตรา9(1) ที่เป็น วัตถุประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือ เกษตรกร

ซึ่งโครงการดิจิตอล Wallet จ่ายคนละ 10,000 บาทไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ข้อนี้ รวมทั้ง ข้ออื่นๆ ในมาตรา 9 ตลอดจน ไม่อยู่ในอำนาจให้กระทำได้ ตามมาตรา10 แต่อย่างใด