นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมด้วยทีมนักวิจัย นายอิสราพงษ์ วรผาบ นักกีฏวิทยาชำนาญการ (กรมอุทยานแห่งชาติฯ) นายนนธวัช ฉัตรธนบูรณ์ ดร.ชวธัช ธนูสิงห์ และ ผศ.ดร.ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเปิดเผยการค้นพบผึ้งหลวงหิมาลัย หรือ ApislaboriosaSmith, 1871 ที่บริเวณหน้าผาสูงของอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบเจอตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 จากนั้น จึงมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่ชัด
ทั้งนี้ ผึ้งหลวงหิมาลัย มีความแตกต่างจากผึ้งหลวงทั่วไป หรือ Apis dorsataFabricius, 1793 ที่สามารถพบเห็นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีการสร้างรังขนาดใหญ่เป็นคอนเดี่ยว ลักษณะที่แตกต่างที่สำคัญคือ ผึ้งหลวงหิมาลัย จะมีปล้องท้องสีดำสนิท และขนรอบบริเวณปล้องอกที่มีสีเหลืองทอง สามารถพบในบริเวณภูเขาสูงตั้งแต่ <1,000 -4,500+ เมตรจากระดับน้ำทะเลและในพื้นที่มีอากาศเย็น (< 25°C) เป็นแมลงผสมเกสรที่สำคัญและจำเพาะต่อสังคมพืชในระบบนิเวศที่สูง น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่แตกต่างจากน้ำผึ้งจากผึ้งหลวงทั่วไปและผึ้งชนิดอื่น ๆ ในธรรมชาติ และเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาด อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้จำเป็นที่ต้องได้รับการศึกษาเพิ่มจากผึ้งหลวงหิมาลัยที่พบในประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้ ผึ้งหลวงหิมาลัย มีความแตกต่างจากผึ้งหลวงทั่วไป หรือ Apis dorsataFabricius, 1793 ที่สามารถพบเห็นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีการสร้างรังขนาดใหญ่เป็นคอนเดี่ยว ลักษณะที่แตกต่างที่สำคัญคือ ผึ้งหลวงหิมาลัย จะมีปล้องท้องสีดำสนิท และขนรอบบริเวณปล้องอกที่มีสีเหลืองทอง สามารถพบในบริเวณภูเขาสูงตั้งแต่ <1,000 -4,500+ เมตรจากระดับน้ำทะเลและในพื้นที่มีอากาศเย็น (< 25°C) เป็นแมลงผสมเกสรที่สำคัญและจำเพาะต่อสังคมพืชในระบบนิเวศที่สูง น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่แตกต่างจากน้ำผึ้งจากผึ้งหลวงทั่วไปและผึ้งชนิดอื่น ๆ ในธรรมชาติ และเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาด อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้จำเป็นที่ต้องได้รับการศึกษาเพิ่มจากผึ้งหลวงหิมาลัยที่พบในประเทศไทยต่อไป