โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Program : UNDP) เผยแพร่รายงานว่า เมียนมาร์ ที่เคยเป็นหนึ่งประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลาง แต่จากภาวะสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อหลายปี ผลักดันให้ประชาชนนับสิบล้านคนกลายเป็นคนยากจน ประชาชนร้อยละ 49.7 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากร 54 ล้านคน มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน คือวันละไม่ถึง 75 เซนต์
นางกันนี วิญญาราชา นักวิชาการของ UNDP อธิบายว่า โดยภาพรวมประชาชนในเมียนมาร์ ประมาณ 3 ใน 4 อยู่ในความยากจน โดยในช่วงระหว่างปี 2554 ถึง 2562 เศรษฐกิจของเมียนมาเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 6 แต่ภายในช่วงเวลา 3 ปี หลังจากที่กองทัพยึดอำนาจการปกครอง ในปี 2564 มีการกวาดล้างกลุ่มฝ่ายค้านและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง ต่อเนื่องด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องปิดทำการ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ประชากร การลงทุนจากต่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก
นางกันนี วิญญาราชา นักวิชาการของ UNDP อธิบายว่า โดยภาพรวมประชาชนในเมียนมาร์ ประมาณ 3 ใน 4 อยู่ในความยากจน โดยในช่วงระหว่างปี 2554 ถึง 2562 เศรษฐกิจของเมียนมาเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 6 แต่ภายในช่วงเวลา 3 ปี หลังจากที่กองทัพยึดอำนาจการปกครอง ในปี 2564 มีการกวาดล้างกลุ่มฝ่ายค้านและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง ต่อเนื่องด้วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องปิดทำการ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ประชากร การลงทุนจากต่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก