กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ร่วมกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เข้าตรวจสอบกรณีตรวจพบกากแคดเมียมและสังกะสี เก็บไว้ใน บจก. ล้อโลหะไทยเมททอล เลขที่ 1532/1 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม. สรุปผลการตรวจสอบ ดังนี้
1. พบการกองกากตะกอนแคดเมียมและสังกะสีภายในอาคารโรงงาน ตามการประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 จำนวน 99 ถุง คิดเป็นปริมาณ 150 ตัน ซึ่งกากตะกอนดังกล่าว ถูกยึดไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
2. สุ่มเก็บตัวอย่างกากของเสีย จำนวน 3 ตัวอย่าง ดินในโรงงาน จำนวน 2 ตัวอย่าง และดินนอกโรงงานในเขตชุมชนช่วงระยะ 50 100 และ 500 เมตร จำนวน 9 ตัวอย่าง และเมื่อตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์แบบกระจายพลังงาน (Energy Dispersive X-Ray Fluorescence; EDXRF) พบว่ากากแร่มีปริมาณแคดเมียมสูงกว่าค่า TTLC (ถือเป็นของเสียอันตราย) ดินในโรงงานพบการปนเปื้อนแคดเมียมสูงเกินเกณฑ์การปนเปื้อนในดินในโรงงาน และดินนอกโรงงานตรวจไม่พบการปนเปื้อนแคดเมียม
3. ผลการตรวจวัดไอระเหยสารเคมีในบรรยากาศ จำนวน 3 จุด ได้แก่ บริเวณภายในโรงงาน หน้าโรงงาน และชุมชนห่างจากโรงงาน 250 เมตร ตรวจไม่พบสารอันตรายในบรรยากาศ
4. เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งบริเวณลำรางภายในอาคารจำนวน 2 จุด และเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินบริเวณโดยรอบพื้นที่โรงงาน จำนวน 3 จุด พบว่าคุณภาพน้ำเบื้องต้นในทั้งสองจุดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากบริเวณเก็บกากแคดเมียมไม่มีกิจกรรมที่ใช้น้ำในการประกอบกิจการและไม่พบการประกอบกิจการ
1. พบการกองกากตะกอนแคดเมียมและสังกะสีภายในอาคารโรงงาน ตามการประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 จำนวน 99 ถุง คิดเป็นปริมาณ 150 ตัน ซึ่งกากตะกอนดังกล่าว ถูกยึดไว้เป็นของกลางในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
2. สุ่มเก็บตัวอย่างกากของเสีย จำนวน 3 ตัวอย่าง ดินในโรงงาน จำนวน 2 ตัวอย่าง และดินนอกโรงงานในเขตชุมชนช่วงระยะ 50 100 และ 500 เมตร จำนวน 9 ตัวอย่าง และเมื่อตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์แบบกระจายพลังงาน (Energy Dispersive X-Ray Fluorescence; EDXRF) พบว่ากากแร่มีปริมาณแคดเมียมสูงกว่าค่า TTLC (ถือเป็นของเสียอันตราย) ดินในโรงงานพบการปนเปื้อนแคดเมียมสูงเกินเกณฑ์การปนเปื้อนในดินในโรงงาน และดินนอกโรงงานตรวจไม่พบการปนเปื้อนแคดเมียม
3. ผลการตรวจวัดไอระเหยสารเคมีในบรรยากาศ จำนวน 3 จุด ได้แก่ บริเวณภายในโรงงาน หน้าโรงงาน และชุมชนห่างจากโรงงาน 250 เมตร ตรวจไม่พบสารอันตรายในบรรยากาศ
4. เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งบริเวณลำรางภายในอาคารจำนวน 2 จุด และเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินบริเวณโดยรอบพื้นที่โรงงาน จำนวน 3 จุด พบว่าคุณภาพน้ำเบื้องต้นในทั้งสองจุดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากบริเวณเก็บกากแคดเมียมไม่มีกิจกรรมที่ใช้น้ำในการประกอบกิจการและไม่พบการประกอบกิจการ