รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์เฟซบุ๊ก โต้เครือข่ายนักวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า อย่าหลงเชื่อ หลงซื้อ"กำไลลวดทองแดง รักษาสารพัดโรค"
ส่งมาถามกันใหญ่เลยครับ บอกว่ามีคลิปทำนองนี้ใน TikTok เต็มไปหมดเลยที่สอนให้เอา สายไฟฟ้า มาปลอกเปลือกหุ้มออก แล้วเอาส่วนลวดทองแดงมาทำเป็นกำไลพันรอบแขน คาดเอวรอบตัว อ้างว่าจะช่วยปรับสนามแม่เหล็กในตัว แก้ปวดเมื่อย รักษาโรคได้ !? แถมมีขายในเน็ต พร้อมอวดสรรพคุณมากมายด้วย
เรื่องนี้เป็นเรื่องมั่วนะครับ ! เป็นเรื่องที่หลอกให้ทำตามๆ กันโดยไม่ได้มีผลดีจริงอย่างที่แอบอ้างอะไรทำนองนี้ และถ้ามีใครคอมเม้นต์บอกว่าได้ผล ก็คงเป็นแค่อุปาทานกันไปเองตามความเชื่อครับ แถมกลุ่มที่แชร์กันเยอะๆ เนี่ย ก็เป็นกลุ่มพวกต่อต้านวัคซีน ดื่มน้ำคลอรีน กลัวสัญญาณมือถือ ฯลฯ (อีกแล้ว )
และก็เห็นเค้าเรียกเจ้ากำไลทองแดงสายไฟนี้กันว่า "Lakhovsky coil" เลยลองเช็คข้อมูลหน่อย พบว่ามาจากชื่อของ Georges Lakhovsky วิศวกรชาวรัสเซีย (เกิดปี 1869 – ตายปี 1942) ที่อ้างว่าสามารถประดิษฐ์เครื่องมชื่อว่า Multiple Wave Oscillator มารักษาโรคมะเร็งของตัวเขาเอง ซึ่งเครื่องนี้เป็นลวดขดให้เป็นวงซ้อนกันหลายชั้น และมีเสาอากาศยื่นออกมา 2 เส้น ให้เป็นขั้วไฟฟ้า ที่จะต่อไฟฟ้าแรงดันสูงและมีสัญญาณความถี่สูง ช่วงคลื่นกว้าง (ตั้งแต่ 1 เฮิร์ซ ถึง 300 กิกะเฮิร์ซ) ออกมาจากเครื่องกำเนิด
.
... แต่ก็ไม่พบหลักฐานใดๆ ที่พิสูจน์ได้ว่าเครื่องมือของเขานั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค หรือส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังที่เขาอ้างไว้
ถึงกระนั้น ก็มีหลายต่อหลายคนที่เอาไอเดียของ Lakhovsky ไปประยุกต์ทำเป็นสินค้าเสริมสุขภาพ - รักษาโรค ออกมาหลอกขายกันในรูปร่างหน้าตาต่างๆ แม้ว่าจะไม่ได้ต่อไฟฟ้าเข้าไป เหมือนอย่างที่ Lakhovsky เคยทำ
ซึ่งขดลวดทองแดงเปล่าๆ (ไม่ได้ผ่านไฟฟ้าเข้าไป) เช่นนี้ ก็ไม่ได้จะไปดึงสนามแม่เหล็กโลกเข้ามาช่วยปรับสมดุลย์ร่างกายอะไรอย่างที่แชร์กัน ไม่ได้ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ไม่ได้สลายสนามแม่เหล็กในบริเวณที่เจ็บป่วย ฯลฯ อย่างที่แชร์กัน
สรุปคือ มันเป็นเรื่องไร้สาระอีกเรื่องบนติ๊กต๊อก ที่อาศัยการเชื่อตามๆ กัน และอย่างมาก ก็แค่อุปาทาน placebo รู้สึกดีขึ้นตามอารมณ์ ไปกันเองครับ
เรื่องนี้ก็คล้ายๆ เรื่องที่คนเอาลวดทองแดงไปพันรอบต้นไม้ แล้วบอกกันว่าต้นไม้จะโตดีขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นที่ยอมรับทางวิชาการการเกษตร แต่อย่างไร (มีงานวิจัยในประเทศจีนที่เหมือนจะได้ผล แต่ต้องใส่ไฟฟ้าจริง เข้าไปด้วยครับ