รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์เฟซบุ๊ก โต้เครือข่ายนักวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกี่ยวกับเสาลดฝุ่น ‘Smart DustPole’ ระบุว่า เครื่องทำนองนี้ ยังไงก็ไม่น่าเวิร์ค เมื่อเอามาใช้จริงในพื้นที่โล่งแจ้ง – อากาศเปิดครับ
คือ หลักการที่อ้างว่า เครื่องจะปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ให้ไปจับตัวกับฝุ่น PM2.5 แล้วตกลงสู่พื้นดิน .. อันนี้มันเป็นไปได้
แต่มันทำได้ผล มีประสิทธิภาพ ก็เฉพาะในพื้นที่อากาศปิด มีปริมาณฝุ่นจำกัด รอให้ฝุ่นตกลงไปเรื่อยๆ โดยไม่มีฝุ่นมาเพิ่มใหม่
อย่างผลการทดลอง ที่บอกว่า “ลดปริมาณ PM2.5 ในพื้นที่ 30 ตารางเมตร ได้มากกว่า 50% ภายใน 1 ชั่วโมง” .. ก็ต้องไปดูรายละเอียดของการทดลอง ว่าทำในพื้นที่โล่งแจ้ง หรือ มีห้องปฏิบัติการ ที่อากาศปิด มีฝุ่นจำกัด กันแน่ ? . แล้วลดค่าฝุ่นลงมา จากเท่าไหร่เหลือเท่าไหร่ อยู่ในระดับที่มากเท่ากับในสภาพที่เกิดวิกฤตฝุ่น หรือเปล่า หรือมีปริมาณไม่มาก (ซึ่งก็จะลดลงได้ไม่ยาก)
ที่จริง ควรจะเอาหลักการเครื่องมือนี้ มาทำให้ห้อง safe zone ให้ประชาชนเข้าไปหลบอยู่ เสริมจากการใช้เครื่องฟอกอากาศ จะเวิร์คกว่าครับ
ป.ล. วิธีพิสูจน์เครื่องทำนองนี้ อย่างง่ายๆ คือ ชาวบ้านลองเอาเครื่องตรวจฝุ่น ไปตรวจเอง แถวรอบเครื่อง ว่ายังมีฝุ่นเยอะหรือเปล่าครับ