นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารความเสี่ยงภาพรวม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน และวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุ ว่า ภัยการเงินมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และมีกลโกงใหม่ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ตัวเลขการเงินเติบโตสูงขึ้น
ทั้งนี้ ธปท.รวบรวมข้อมูลการแจ้งความออนไลน์ในเดือนมกราคม 2567 พบสถิติแจ้งความออนไลน์ จำนวน 56,746 กรณี รวมมูลค่าความเสียหาย 3,981 ล้านบาท ประเภทคดีออนไลน์ 1.หลอกซื้อของไม่ได้ของไม่ตรงปก คิดเป็น 46% 2.หลอกกู้เงิน คิดเป็น 10% และ 3.หลอกโอนเงิน คิดเป็น 7% ขณะที่มูลค่าความเสียหายส่วนใหญ่เป็นเรื่องการหลอกลงทุน 32%
สำหรับมาตรการการป้องกันของไทยนั้น หากเทียบกับในต่างประเทศมีลักษณะใกล้เคียงและแตกต่างกัน เช่น ไทยมีมาตรการกำหนดให้โมบายแบงก์กิ้งมีเครื่องเดียวที่ลงทะเบียนถึงจะทำงานได้ การสแกนหน้าเพื่อระงับการทำธุรกรรมเกิน 50,000 บาท การแจ้งเตือนทันทีภายหลังจากการโอนเงิน เหล่านี้เป็นมาตรการเพิ่มเติมที่เสริมเข้ามาเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงธนาคารต้องพัฒนาระบบป้องกันต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ธปท.รวบรวมข้อมูลการแจ้งความออนไลน์ในเดือนมกราคม 2567 พบสถิติแจ้งความออนไลน์ จำนวน 56,746 กรณี รวมมูลค่าความเสียหาย 3,981 ล้านบาท ประเภทคดีออนไลน์ 1.หลอกซื้อของไม่ได้ของไม่ตรงปก คิดเป็น 46% 2.หลอกกู้เงิน คิดเป็น 10% และ 3.หลอกโอนเงิน คิดเป็น 7% ขณะที่มูลค่าความเสียหายส่วนใหญ่เป็นเรื่องการหลอกลงทุน 32%
สำหรับมาตรการการป้องกันของไทยนั้น หากเทียบกับในต่างประเทศมีลักษณะใกล้เคียงและแตกต่างกัน เช่น ไทยมีมาตรการกำหนดให้โมบายแบงก์กิ้งมีเครื่องเดียวที่ลงทะเบียนถึงจะทำงานได้ การสแกนหน้าเพื่อระงับการทำธุรกรรมเกิน 50,000 บาท การแจ้งเตือนทันทีภายหลังจากการโอนเงิน เหล่านี้เป็นมาตรการเพิ่มเติมที่เสริมเข้ามาเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงธนาคารต้องพัฒนาระบบป้องกันต่อเนื่อง