นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยผลการประชุมกรรมการกองทุน สสส. ครั้งที่ 3/2567 ว่า ที่ประชุมฯ เห็นชอบแนวทางความร่วมมือการลดรายจ่ายครัวเรือน ระหว่างสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และ สสส. ในการแก้ไขปัญหาและลดสัดส่วนหนี้สินครัวเรือน โดยเฉพาะประชาชนรายย่อย ภายใต้กรอบแนวคิดการดำเนินงาน “ลดรายจ่ายครัวเรือน เลิกเหล้า เลิกบุหรี่” ซึ่งจากข้อมูลพบว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยปี 2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท โดยเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อยเป็นกลุ่มที่มีสถานการณ์หนี้น่าเป็นห่วง คือ มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูงอยู่ที่ 34% และ 41% ตามลำดับ สอดคล้องกับข้อมูลรายจ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนไทย พบว่า เป็นค่าอุปโภคบริโภค 87% โดยรายจ่ายสูงสุด คือ อาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ 35.5% โดยเฉพาะครอบครัวผู้มีรายได้น้อยมีค่าใช้จ่ายการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่าครอบครัวรายได้สูงถึง 6 เท่า และใช้เงิน 21.5% ของรายได้ไปกับการสูบบุหรี่ ทำให้เหลือเงินสำหรับใช้จ่ายด้านอื่นที่จำเป็นน้อยลงก่อให้เกิดหนี้สินเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สสส. และ สทบ. ได้สำรวจพื้นที่และกำหนดเป้าหมายสร้างชุมชนปลอดความยากจนสุขภาวะดีถ้วนหน้าใน 2,000 ตำบล/ชุมชน เพื่อเข้าไปสร้างกลไกลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ โดยลดรายจ่ายด้วยการขยายโมเดลที่ สสส. ทำไว้ทั้งโครงการคนหัวใจเพชร, งานบุญปลอดเหล้า, พี่เลี้ยงการเงินรู้ทันพนัน, สวนผักชุมชน รวมถึงเครื่องมือความรอบรู้ด้านการเงิน การออม อาทิ การลดหนี้ในแรงงานนอกระบบร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการเพิ่มรายได้ โดยใช้วิธีการทำให้เกิดแผนเศรษฐกิจชุมชน อาทิ การสร้างอาชีพ การเชื่อมโยงองค์กร/สถาบันการเงิน การส่งเสริมการผลิตและใช้เอง รวมถึงแผนปลดหนี้ และพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ พัฒนาผู้ประกอบการอินทรีย์ตลาดสีเขียว เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในชุมชน
ทั้งนี้ สสส. และ สทบ. ได้สำรวจพื้นที่และกำหนดเป้าหมายสร้างชุมชนปลอดความยากจนสุขภาวะดีถ้วนหน้าใน 2,000 ตำบล/ชุมชน เพื่อเข้าไปสร้างกลไกลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ โดยลดรายจ่ายด้วยการขยายโมเดลที่ สสส. ทำไว้ทั้งโครงการคนหัวใจเพชร, งานบุญปลอดเหล้า, พี่เลี้ยงการเงินรู้ทันพนัน, สวนผักชุมชน รวมถึงเครื่องมือความรอบรู้ด้านการเงิน การออม อาทิ การลดหนี้ในแรงงานนอกระบบร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการเพิ่มรายได้ โดยใช้วิธีการทำให้เกิดแผนเศรษฐกิจชุมชน อาทิ การสร้างอาชีพ การเชื่อมโยงองค์กร/สถาบันการเงิน การส่งเสริมการผลิตและใช้เอง รวมถึงแผนปลดหนี้ และพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ พัฒนาผู้ประกอบการอินทรีย์ตลาดสีเขียว เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในชุมชน