ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ และทรวงอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์ผลกระทบของฝุ่นควัน และ PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ว่า ฝุ่น PM2.5 มีปัญหามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2566 จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงพีคในเดือนมีนาคม 2567 นี้ โดยเฉพาะสัปดาห์ที่สอง พุ่งสูงมาก มีผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเกี่ยวกับ PM 2.5 อาการปานกลาง ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล มาที่แผนกผู้ป่วยนอก เช่น ภูมิแพ้กำเริบ เลือดกำเดาไหล เป็นเลือด หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูกโตขึ้น หอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น มีทุกวันวันละหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับฤดูที่หมดฝุ่นไปแล้ว
ส่วนผู้ป่วยหนักที่ต้องนอนไอซียู หรือมาที่ห้องฉุกเฉิน ใส่เครื่องช่วยหายใจ เช่น สโตรก ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเยอะขึ้นหลายเท่าตัว อย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ผู้ป่วยต้องนอน รพ. อยู่ไอซียูแต่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ พบเพิ่มขึ้นด้วยอาการปอดอักเสบ หอบหืดกำเริบ ไอเป็นเลือด ติดเชื้อในปอด นี่คืออาการเจ็บป่วยที่สูงขึ้นจากค่า PM 2.5 ในเกณฑ์วิกฤติ แล้วผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะเสียชีวิตก่อนมาถึงไอซียูด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ ขอเตือนประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบรวดเร็ว รุนแรงบางครั้งเป็นความเสียหายที่กลับคืนไม่ได้ ควรอยู่ในห้องที่มีเครื่องฟอกอากาศ ขอให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน เลือกทำเฉพาะที่จำเป็น และใช้เวลาไม่นาน ระหว่างนั้นควรสวมหน้ากากอนามัย N 95 ด้วย แต่ไม่ควรสวมหน้ากากดังกล่าว เพื่อหวังทำกิจกรรมทั้งวัน เพราะประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 70-80 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกกลุ่มหนึ่งคือผู้หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ การพัฒนาทางสมองยังน้อย เวลาไปโรงเรียนแล้วให้ทำกิจกรรมภายนอก บางแห่งไม่มีเครื่องฟอกอากาศ หรือมีแต่ไม่เปิดใช้ หากสูดฝุ่น PM2.5 เป็นเวลานาน กำเดาไหล เป็นหวัด เจ็บคอ หอบหืด ระยะยาวจะทำให้สมองมึนงง ความคิดความอ่าน การพัฒนาการทางสมองน้อยลง ถ้าสัมผัสอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นเด็กที่ขาดสมาธิ หลุกหลิก อยู่ไม่นิ่ง เพิ่มมากขึ้น
ส่วนผู้ป่วยหนักที่ต้องนอนไอซียู หรือมาที่ห้องฉุกเฉิน ใส่เครื่องช่วยหายใจ เช่น สโตรก ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเยอะขึ้นหลายเท่าตัว อย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ผู้ป่วยต้องนอน รพ. อยู่ไอซียูแต่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ พบเพิ่มขึ้นด้วยอาการปอดอักเสบ หอบหืดกำเริบ ไอเป็นเลือด ติดเชื้อในปอด นี่คืออาการเจ็บป่วยที่สูงขึ้นจากค่า PM 2.5 ในเกณฑ์วิกฤติ แล้วผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะเสียชีวิตก่อนมาถึงไอซียูด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ ขอเตือนประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบรวดเร็ว รุนแรงบางครั้งเป็นความเสียหายที่กลับคืนไม่ได้ ควรอยู่ในห้องที่มีเครื่องฟอกอากาศ ขอให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน เลือกทำเฉพาะที่จำเป็น และใช้เวลาไม่นาน ระหว่างนั้นควรสวมหน้ากากอนามัย N 95 ด้วย แต่ไม่ควรสวมหน้ากากดังกล่าว เพื่อหวังทำกิจกรรมทั้งวัน เพราะประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 70-80 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกกลุ่มหนึ่งคือผู้หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ การพัฒนาทางสมองยังน้อย เวลาไปโรงเรียนแล้วให้ทำกิจกรรมภายนอก บางแห่งไม่มีเครื่องฟอกอากาศ หรือมีแต่ไม่เปิดใช้ หากสูดฝุ่น PM2.5 เป็นเวลานาน กำเดาไหล เป็นหวัด เจ็บคอ หอบหืด ระยะยาวจะทำให้สมองมึนงง ความคิดความอ่าน การพัฒนาการทางสมองน้อยลง ถ้าสัมผัสอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นเด็กที่ขาดสมาธิ หลุกหลิก อยู่ไม่นิ่ง เพิ่มมากขึ้น