xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระ”เผยงานวิจัยโอกาสรอดชีวิตจากการช่วยชีวิตด้วยการปั้มหัวใจ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า โอกาสรอดชีวิตจากการช่วยชีวิตด้วยการปั้มหัวใจ...

งานวิจัยเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ British Medical Journal เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2024

ศึกษาจากข้อมูลผู้ป่วยกว่า 380,000 รายในสหราชอาณาจักรที่ได้รับการช่วยชีวิตด้วยการปั้มหัวใจ (Cardiopulmonary resuscitation: CPR) ระหว่างที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาล

อายุตั้งแต่ 56-77 ปี ชาย:หญิง ราว 3:2

ส่วนใหญ่เกือบ 80% ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้น (asystole หรือ pulseless electrical activity)

พบว่า โอกาสรอดชีวิต <1% หากช่วยชีวิตด้วยการปั้มหัวใจนานกว่า 39 นาที

ทั้งนี้โอกาสที่ผู้ป่วยจะรอดชีวิต และมีผลลัพธ์ที่กลับมาใช้ชีวิตได้นั้นจะแปรผกผันกับเวลาที่ใช้ในการช่วยชีวิต ยิ่งใช้เวลานาน โอกาสยิ่งน้อยลงตามลำดับ

ผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ในการใช้ประเมินโอกาสทางคลินิก และช่วยให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการระบบการช่วยชีวิตผู้ป่วย

อ้างอิง
Duration of cardiopulmonary resuscitation and outcomes for adults with in-hospital cardiac arrest: retrospective cohort study. BMJ. 7 February 2024.