กรณีเพจสถานฑูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เผยแพร่ข้อมูลเตือนชาวอินโดนีเซียที่จะเข้ามาท่องเที่ยวไทย ให้เตรียมหนังสือเดินทาง ทริปการท่องเที่ยว และเงินติดตัว ไม่เช่นนั้นจะถูก ตม.ไทยส่งกลับ และต่อมามีนักท่องเที่ยวสาวชาวอินโดนีเซีย เผยแพร่ภาพคลิปลง Tiktok บัญชีหนึ่งว่า เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2567 ตนและสามีเดินทางมาฉลองฮันนีมูนที่ประเทศไทย ตนผ่านตรวจคนเข้าเมืองได้ แต่สามีติดตรวจคนเข้าเมือง เนื่องจากไม่มีเงินติดตัว ซึ่งตนได้พยายามกด ATM แสดงเงินแก่เจ้าหน้าที่ ตม.แต่ยังส่งสามีตนกลับ เป็นเหตุให้ตนต้องยกเลิกทริป และเดินทางกลับไปพร้อมสามี โดยเปลี่ยนไปฮันนีมูนที่ญี่ปุ่นแทนนั้น จนกลายเป็นไวรัลในอินโดนีเซีย มียอดวิว 24.5 K ยอด comment 1,476 ความเห็น ส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของไทย และ ตม.เป็นอย่างยิ่งนั้น
พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 และโฆษก สตม.ได้สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว พบว่า ผู้โพสต์เป็นชาวอินโดนีเซียชื่อ น.ส.ฟาลิดา (นามสมมุติ) ได้เดินทางเข้าไทยทางสนามบินดอนเมือง เที่ยวบินที่ FD395 จากเมืองจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 โดยปรากฏภาพในวงจรปิดว่า หญิงดังกล่าวเดินทางเพียงคนเดียว ไม่มีสามีมาด้วยตามที่กล่าวอ้าง และได้รับอนุญาตเข้าไทย โดยเดินทางออกจากไทยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ทางสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นเวลาที่พักในไทยกว่า 13 วัน ไม่ได้เดินทางออกทันทีตามที่พูดในคลิปแต่อย่างใด นอกจากนั้น ขยายผลพบว่า น.ส.ฟาลิดา เข้าออกไทยบ่อยครั้ง โดยมีอาชีพขายของออนไลน์ จึงเชื่อว่า น.ส.ฟาลิดา ตั้งใจสร้างคอนเทนต์
ต่อมา พล.ต.ต.เชิงรณ เชิญทาง ผู้แทนสถานทูตอินโดนีเซียในไทยมาร่วมรับฟังคำชี้แจง เมื่อวานนี้ (28 ก.พ.) ว่า เรื่องเงินติดตัวเป็นประเด็นประกอบเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบัน มีการใช้บัตรเครดิต และระบบ E-payment จำนวนมากแล้ว ดังนั้น การกล่าวอ้างเรื่องการมีเงินติดตัวไม่พอแล้วจะถูกปฏิเสธการเข้าเมือง จึงไม่ตรงตามข้อเท็จจริง และคนต่างชาติที่ถูกปฏิเสธเข้าเมืองส่วนใหญ่ไม่สามารถแสดงแผนการท่องเที่ยว ไม่มีการจองที่พัก รวมถึงบางรายใช้หลักฐานการจองที่พักปลอมเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ ตม.ด้วย และยังพบว่า คนอินโดนีเซียจำนวนมากถูกหลอกให้บินเข้าไทยเพื่อผ่านแดนไปประเทศเพื่อนบ้านเข้าไปเป็นคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเข้าข่ายเสี่ยงค้ามนุษย์ และสถานทูตอินโดนีเซียยังเคยมีหนังสือขอบคุณ ตม.สนามบินดอนเมือง ที่ช่วยคัดกรองชาวอินโดนีเซียให้ด้วยซ้ำ
พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 และโฆษก สตม.ได้สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว พบว่า ผู้โพสต์เป็นชาวอินโดนีเซียชื่อ น.ส.ฟาลิดา (นามสมมุติ) ได้เดินทางเข้าไทยทางสนามบินดอนเมือง เที่ยวบินที่ FD395 จากเมืองจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 โดยปรากฏภาพในวงจรปิดว่า หญิงดังกล่าวเดินทางเพียงคนเดียว ไม่มีสามีมาด้วยตามที่กล่าวอ้าง และได้รับอนุญาตเข้าไทย โดยเดินทางออกจากไทยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ทางสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นเวลาที่พักในไทยกว่า 13 วัน ไม่ได้เดินทางออกทันทีตามที่พูดในคลิปแต่อย่างใด นอกจากนั้น ขยายผลพบว่า น.ส.ฟาลิดา เข้าออกไทยบ่อยครั้ง โดยมีอาชีพขายของออนไลน์ จึงเชื่อว่า น.ส.ฟาลิดา ตั้งใจสร้างคอนเทนต์
ต่อมา พล.ต.ต.เชิงรณ เชิญทาง ผู้แทนสถานทูตอินโดนีเซียในไทยมาร่วมรับฟังคำชี้แจง เมื่อวานนี้ (28 ก.พ.) ว่า เรื่องเงินติดตัวเป็นประเด็นประกอบเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบัน มีการใช้บัตรเครดิต และระบบ E-payment จำนวนมากแล้ว ดังนั้น การกล่าวอ้างเรื่องการมีเงินติดตัวไม่พอแล้วจะถูกปฏิเสธการเข้าเมือง จึงไม่ตรงตามข้อเท็จจริง และคนต่างชาติที่ถูกปฏิเสธเข้าเมืองส่วนใหญ่ไม่สามารถแสดงแผนการท่องเที่ยว ไม่มีการจองที่พัก รวมถึงบางรายใช้หลักฐานการจองที่พักปลอมเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ ตม.ด้วย และยังพบว่า คนอินโดนีเซียจำนวนมากถูกหลอกให้บินเข้าไทยเพื่อผ่านแดนไปประเทศเพื่อนบ้านเข้าไปเป็นคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเข้าข่ายเสี่ยงค้ามนุษย์ และสถานทูตอินโดนีเซียยังเคยมีหนังสือขอบคุณ ตม.สนามบินดอนเมือง ที่ช่วยคัดกรองชาวอินโดนีเซียให้ด้วยซ้ำ