xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระ”เผยการฉีดเข็มกระตุ้นช่วยลดเสี่ยงป่วยรุนแรงจนต้องนอน รพ.ได้ 52%

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า การประชุม Advisory committee on immunization practices (ACIP) ของ US CDC เมื่อคืนนี้

มีมติให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยง

ข้อมูลในช่วงปีก่อนชี้ให้เห็นว่าการฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน monovalent XBB.1.5 นั้นช่วยลดเสี่ยงป่วยรุนแรงจนต้องนอนรพ.ได้ 52% และลดเสี่ยงไปรักษาที่แผนกฉุกเฉิน/แผนกผู้ป่วยนอกได้ 47% และลดเสี่ยงป่วยมีอาการได้ 49% เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

ลักษณะผู้ป่วยนอนรพ.ในอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา ราวสองในสาม เป็นกลุ่มสูงอายุ และกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี มีโรคประจำตัวต่างๆ

ในช่วงพีคของการระบาดฤดูหนาวที่ผ่านมา มีจำนวนป่วยนอนรพ.สูงถึง 20,000 และเสียชีวิต 2,000 ต่อสัปดาห์ ซึ่งสูงกว่าไข้หวัดใหญ่อย่างชัดเจน

อัตราตายเฉลี่ยในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล อยู่ราว 4%

ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข พบว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นปีละครั้งจะมีความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อป่วยจนต้องรักษาตัวในรพ. ในขณะที่การฉีดกระตุ้นปีละสองครั้ง จะคุ้มค่าในกลุ่มสูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาดในช่วงเวลานั้นๆ

อ้างอิง
ACIP Presentation Slides: February 28-29, 2024 Meeting. US CDC.