นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค" ระบุว่า เขมรอ้างพื้นที่ทับซ้อน ด้วยการลากเส้นเขตแดนตามใจตัวเอง แล้วไทยไปยอมรับทำไม ใครได้ประโยชน์ ระหว่างประเทศชาติและประชาชน หรือนักธุรกิจการเมือง“
สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่มาแห่งการต้องเจรจาปักปันเขตแดน ระหว่างไทยกับกัมพูชา และไทยกับลาวนั้น มีอยู่ 2 ฉบับหลักๆคือ ฉบับแรก ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) ทำให้ไทยเสียเขาพระวิหารในเวลาต่อมา
และฉบับที่ 2 ปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ.2450) เป็นการที่สยามยกดินแดนเสียมราฐ ศรีโสภณ และพระตะบอง ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับการที่ฝรั่งเศสยกด่านซ้าย (จังหวัดเลย) จันทบุรี ตราด เกาะกูด และเกาะใกล้เคียงคืนให้ไทย ตรงนี้ไม่เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด เพราะทั้งสนธิสัญญาและแผนที่ระบุชัดเจนว่า ตราดและเกาะกูดเป็นดินแดนของสยาม
การประกาศเขตทางทะเลของไทยและกัมพูชาในช่วงปลายทศวรรษ 1960 (พ.ศ.2503) และต้นทศวรรษ 1970 (พ.ศ.2513) เช่น อ่าวไทย ต่างตื่นตัวต่อแนวโน้มของหลักกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ ที่จะให้มีเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าหลักกฎหมายเดิมที่เคยใช้มาในอดีต
โดยคำตัดสินใหม่ของศาลระหว่างประเทศทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกพยายามหาวิธีการเพื่อขยายเขตทางทะเลในส่วนที่เป็นไหล่ทวีปกันเป็นการใหญ่ โดยพยายามหาทุกเหตุผลมาใช้เพื่ออ้างเขตไหล่ทวีปของตนเองให้ “เว่อร์” มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยหวังว่า อีกประเทศหนึ่งต้องมาเจรจากัน
แต่ทำไมรัฐบาลทักษิณจะยอมไปเสียโง่ให้กับกัมพูชา ด้วยการไปยอมรับ สิ่งที่กัมพูชาลากเสียงเขตแดนมั่วๆ ตามตัวเอง และยอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ทั้งที่ดินมันคือพื้นแผ่นดินไทย 100%
ข้อเท็จจริงที่ไทยต้องทำคือ ต้องให้กัมพูชายอมถอยเส้นดังกล่าวออกไปจากเกาะกูดเสียก่อน จึงค่อยเริ่มกระบวนการเจรจากัน มิใช่ให้กัมพูชาขีดเส้นเขตแดนตามใจตนเอง
อัษฎางค์ ยมนาค
อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ “อัษฎางค์ดอทคอม”