ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง "อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ" ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2567
จากการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนต่ออำนาจของกรมราชทัณฑ์ในการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษให้กับนักโทษหลังจากศาลมีคำพิพากษา พบว่า ร้อยละ 40.00 ระบุ ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 19.47 ระบุ เห็นด้วยมาก ร้อยละ 19.16 ระบุ ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 18.01 ระบุ ค่อนข้างเห็นด้วย และ ร้อยละ 3.36 ระบุ ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษของกรมราชทัณฑ์ ควรมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมเป็นกรรมการ พบว่า ร้อยละ 41.69 ระบุ เห็นด้วยมาก ร้อยละ 24.58 ระบุ ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 24.27 ระบุ ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 8.70 ระบุ ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.76 ระบุ ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองหลัง "ทักษิณ ชินวัตร" ได้รับการพักโทษ ร้อยละ 50.38 ระบุ "ทักษิณ" จะมีบทบาทในการให้คำปรึกษากับพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 28.93 ระบุ การชุมนุมต่อต้าน "ทักษิณ" จะไม่สามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่ ร้อยละ 26.72 ระบุ คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะลดลงจากบทบาทที่มากขึ้นของ "ทักษิณ" ร้อยละ 21.68 ระบุ การชุมนุมต่อต้าน "ทักษิณ" จะสามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่ ร้อยละ 19.69 ระบุ การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเข้มข้นขึ้น ร้อยละ 19.24 ระบุ เร็วๆ นี้จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 17.63 ระบุ "ทักษิณ" จะไม่ยุ่งกับการเมืองอีกแล้ว ร้อยละ 17.02 ระบุ นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จะอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ
ร้อยละ 14.43 ระบุ ประเทศไทยจะดูเหมือนมีนายกรัฐมนตรี สองคน ร้อยละ 12.21 ระบุ ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองยังคงอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล ร้อยละ 11.15 ระบุ ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองจะย้ายไปอยู่ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ร้อยละ 11.07 ระบุ จะมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี จาก "เศรษฐา" เป็น "อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร" ร้อยละ 9.54 ระบุ คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะสูงขึ้นจากบทบาทที่มากขึ้นของ "ทักษิณ" ร้อยละ 6.11 ระบุพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเป็นมิตรกันมากขึ้น และร้อยละ 10.00 ระบุ ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ