รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า "ภาพพระอาทิตย์พร้อมดวงจันทร์ ที่ขอบฟ้า น่าจะเป็นภาพปลอมครับ"
มีการแชร์ภาพสวยๆ รูปนี้ ที่มีแคปชั่นว่า "ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าเหลือเชื่อ พระอาทิตย์และพระจันทร์พบกันบนขอบฟ้า" และบอกต่อด้วยว่า "ภาพนี้เกิดขึ้นที่คาบสมุทร Magellan ที่ขอบฟ้าของ Patagonia อาร์เจนตินา" !?
แต่จริงๆ แล้ว ภาพนี้ถูกเผยแพร่มาหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ และตามหลักดาราศาสตร์ ภาพปรากฏการณ์แบบในรูปนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง .. จึงน่าจะเป็นแค่ภาพปลอม ที่แชร์กันให้ไวรัลครับ
ตามในรายงานข่าวต่างประเทศ บอกว่ารูป "พระอาทิตย์คู่พระจันทร์ ที่ขอบฟ้า" นี้ ถูกเผยแพร่ และกลายเป็นไวรัลมาตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยอ้างว่าถ่ายจากบริเวณ เทียราเดลฟูเอโก Tierra del Fuego (ประเทศอาเจนตินา และประเทศชิลี) และแม้แต่รองนายกเทศมนตรี Juan Carlos Arcando ยังโพสต์ภาพนี้ลงในสื่อออนไลน์ของเขา
แต่ภาพนี้เคยมีคนเผยแพร่มาก่อนแล้ว ตั้งแต่ปี 2022 โดยตอนนั้นอ้างว่าถ่ายที่ Punta Arenas (ประเทศชิลี) หรือไม่ก็อ้างว่าเป็นที่เกาะ Cíes Islands (ประเทศสเปน)
ซึ่งตอนนั้น ทางองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบข่าวปลอม ดังเช่น Chequeado และ AFP Factual (ทั้งคู่เป็นสมาชิกของเครือข่าย the International Fact-Checking Network , IFCN) ได้ระบุว่าภาพดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ตั้งแต่ที่ภาพเริ่มถูกเผยแพร่ออกไปแล้ว
แถมผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ ต่างออกมาบอกว่า ภาพดังกล่าวนี้ "เป็นไปไม่ได้ โดยอธิบายว่า ถ้าดวงจันทร์อยู่ที่ตำแหน่งที่ขอบฟ้า อยู่ในฝั่งเดียวกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลกอย่างนั้น ก็แปลว่า ดวงจันทร์กำลังอยู่ในช่วง "จันทร์ดับ new Moon" ซึ่งเราจะไม่เห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงแบบนั้น แต่จะเป็นแค่วงกลมๆ มืดๆ ไม่มีแสงดวงอาทิตย์สะท้อนสว่างให้เห็น .. คนละอย่างกันในรูปนั้นเลย
ที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากดวงจันทร์ไม่ได้มีแสงสว่างในตัวเอง แต่ที่เราเห็นได้เพราะมันสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ ดังนั้น ถ้าทั้งคู่โคจรมาอยู่ในแนวใกล้กัน เราก็ไม่ควรจะมองเห็นดวงจันทร์ด้วยซ้ำครับ อย่างมากก็แค่เห็นเป็นจันทร์เสี้ยวนิดเดียว
ข้อมูลจากhttps://euro.eseuro.com/local/2099103.html#google_vignette
---------
(จากวิกิ) จันทร์ดับ, เดือนดับ หรือ อมาวสี (อังกฤษ: new moon)
เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก ดวงจันทร์จึงหันด้านมืดเข้าหาโลก ทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์
มักเกิดในวันแรม 14 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ (บางครั้งเกิดในข้างขึ้นอ่อน ๆ เพราะปฏิทินจันทรคติคลาดเคลื่อนจากดวงจันทร์จริงบนท้องฟ้า)
ในทางดาราศาสตร์ปรากฏการณ์นี้มักถูกเรียกอีกอย่างว่า ตำแหน่งโคจรคู่ตรงข้าม (syzygy)
ภาพจำลองของจันทร์ดับ โดยมองเห็นเสี้ยวหนึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณในการเริ่มเดือนใหม่ในปฏิทินสุริยจันทรคติกับจันทรคติส่วนใหญ่
จากhttps://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A