รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และกรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คาดการณ์ว่า ภาวะเงินฝืด และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงของจีน มีโอกาสยืดเยื้ออีกเกิน 6 เดือน ถึง 1 ปี และยุคสมัยของความรุ่งเรือง และการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า ร้อยละ 10 ของจีนได้จบลงแล้ว จีนอาจไม่ได้เผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอยยาวนานเหมือนญี่ปุ่นเคยเผชิญ เนื่องจากจีนมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่า มีตลาดภายในใหญ่กว่า ตอบสนองต่อพลวัตปัญหาวิกฤตฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการลงทุนได้เร็ว และยังมีความพร้อมทางด้านการคลังการเงินในการผ่อนคลาย และอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ แม้นหนี้สาธารณะของรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ในสัดส่วนที่สูงก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินฝืดที่ค่อนข้างรุนแรงของจีน โดยมีอัตราเงินเฟ้อติดลบมาอย่างต่อเนื่อง อุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิต ทำให้อุปสงค์ภายในจีนที่ยังอ่อนแอไม่สามารถดูดซับได้ จึงมีการส่งออกสินค้าต่างๆ ในราคาถูกมากทุ่มตลาดมายังไทย และอาเซียน ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศของไทย และอาเซียน กดดันให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และติดลบในบางประเทศ จีนส่งออกภาวะเงินฝืดผ่านการทุ่มตลาด การที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงต่อเนื่องได้เกิดสภาวะ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคชะลอการซื้อ เพราะคาดว่าราคาจะปรับลดลงอีก ผู้ผลิตชะลอการผลิตเพราะขายไม่ได้ราคา ภาวะเงินฝืดมักเกิดขึ้นเมื่อมีอุปทานสูง (มีส่วนเกินของผลผลิตมากจากการลงทุนส่วนเกินหรือลงทุนอย่างไม่ระมัดระวัง) มีอุปสงค์ต่ำ (การบริโภคลดลงมาก) หรืออุปทานเงินลดลงและดอกเบี้ยสูง ภาวะเงินฝืด และเงินเฟ้อลดต่ำลงดังกล่าวยังเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ผลิตภาพของแรงงาน และทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การเปิดเสรีที่ทำให้การแข่งขันมากเกินไป ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ ขณะที่ภาระหนี้แท้จริงของลูกหนี้เพิ่มขึ้น มูลค่าแท้จริงของหนี้สินสูงขึ้น และเป็นภาวะที่คนที่ถือเงินสดได้ประโยชน์เพราะอาจเกิดโอกาสของการลงทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินฝืดที่ค่อนข้างรุนแรงของจีน โดยมีอัตราเงินเฟ้อติดลบมาอย่างต่อเนื่อง อุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิต ทำให้อุปสงค์ภายในจีนที่ยังอ่อนแอไม่สามารถดูดซับได้ จึงมีการส่งออกสินค้าต่างๆ ในราคาถูกมากทุ่มตลาดมายังไทย และอาเซียน ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศของไทย และอาเซียน กดดันให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และติดลบในบางประเทศ จีนส่งออกภาวะเงินฝืดผ่านการทุ่มตลาด การที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงต่อเนื่องได้เกิดสภาวะ ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคชะลอการซื้อ เพราะคาดว่าราคาจะปรับลดลงอีก ผู้ผลิตชะลอการผลิตเพราะขายไม่ได้ราคา ภาวะเงินฝืดมักเกิดขึ้นเมื่อมีอุปทานสูง (มีส่วนเกินของผลผลิตมากจากการลงทุนส่วนเกินหรือลงทุนอย่างไม่ระมัดระวัง) มีอุปสงค์ต่ำ (การบริโภคลดลงมาก) หรืออุปทานเงินลดลงและดอกเบี้ยสูง ภาวะเงินฝืด และเงินเฟ้อลดต่ำลงดังกล่าวยังเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ผลิตภาพของแรงงาน และทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การเปิดเสรีที่ทำให้การแข่งขันมากเกินไป ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ ขณะที่ภาระหนี้แท้จริงของลูกหนี้เพิ่มขึ้น มูลค่าแท้จริงของหนี้สินสูงขึ้น และเป็นภาวะที่คนที่ถือเงินสดได้ประโยชน์เพราะอาจเกิดโอกาสของการลงทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำได้มากขึ้น