ตามที่การส่งต่อข้อมูลเรื่อง การส่งข้อมูลเบิกจ่ายของหน่วยบริการทางการแพทย์ผ่านระบบ FDH ถ้าไม่ดำเนินการส่งตรง สปสช. อาจสุ่มเสี่ยงทำผิดกฎหมาย PDPA นั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีที่มีผู้ให้ข้อมูลว่า การส่งข้อมูลเบิกจ่ายของหน่วยบริการทางการแพทย์ผ่านระบบ FDH ถ้าไม่ดำเนินการส่งตรง สปสช. อาจสุ่มเสี่ยงทำผิดกฎหมาย PDPA ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ไม่ได้กำหนดรายละเอียดวิธีการว่า เงื่อนไขการส่งข้อมูลเป็นอย่างไร เพียงกำหนดไว้ว่า ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในที่นี้อาจหมายถึงสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) หรือ กรมที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลต่าง ๆ มีหน้าที่ดูแลเรื่องของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความเหมาะสม เพราะฉะนั้น กรณีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของโครงการ 30 บาท โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งเป็นองคาพยพส่วนหนึ่งภายใต้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อส่งข้อมูลให้ สปสช. ก็เสมือนว่า สป.สธ.หรือ กรมที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลเป็นผู้ส่งข้อมูลนั้น
กรณีที่มีผู้ให้ข้อมูลว่า การส่งข้อมูลเบิกจ่ายของหน่วยบริการทางการแพทย์ผ่านระบบ FDH ถ้าไม่ดำเนินการส่งตรง สปสช. อาจสุ่มเสี่ยงทำผิดกฎหมาย PDPA ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ไม่ได้กำหนดรายละเอียดวิธีการว่า เงื่อนไขการส่งข้อมูลเป็นอย่างไร เพียงกำหนดไว้ว่า ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในที่นี้อาจหมายถึงสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) หรือ กรมที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลต่าง ๆ มีหน้าที่ดูแลเรื่องของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความเหมาะสม เพราะฉะนั้น กรณีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของโครงการ 30 บาท โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งเป็นองคาพยพส่วนหนึ่งภายใต้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อส่งข้อมูลให้ สปสช. ก็เสมือนว่า สป.สธ.หรือ กรมที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลเป็นผู้ส่งข้อมูลนั้น