นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา และอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เหลียวหลังแลหน้า ธรรมศาสตร์และประชาชน โดยระบุช่วงหนึ่งว่า ตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 40 สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งตอนนั้น ตนเป็นฝ่ายค้าน และหากจะพูดถึงเรื่องการแจกเงิน 10,000 บาท ช่วงต้มยำกุ้งปี 40 ถือว่าวิกฤตจริงๆ เข้าหลักนิยามของสหประชาชาติ เข้าหลักของวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งตนได้ไปชี้แจงในการประชุมที่ดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่สอง ซึ่งวันนั้นอาจเป็นความผิดพลาดที่ไปสู้ เงินบาทอ่อนจนเงินเราเกือบหมด และต่อมาเกิดโครงการเงินกู้มายาซาวา ซึ่งทุกคนต้องทำงานถึงจะได้เงิน และเป็นโครงการที่ช่วยวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนั้น
นายชวน กล่าวอีกว่า กรณีที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลตำรวจ ตนได้ทำหนังสือถึงพล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี 2566 ว่า ควรจะปกป้องแพทย์ไว้ก่อน ตนให้คำแนะนำว่าอย่าไปเซ็น หรือรับรองอะไรที่มันไม่ถูก ช่วยกรุณาป้องกันเอาไว้ก่อน เรื่องนี้มีปัญหา เพราะความจริงก็คือความจริงวันยังค่ำ วันนี้ไม่ปรากฏวันหน้าก็ต้องปรากฏ ตนรู้ว่าหลายคนไม่อยากทำผิด ในอดีตมีแพทย์คนหนึ่งต้องติดคุก เพราะเกรงใจ ตนมีรุ่นน้อง 2 คนจบธรรมศาสตร์ เป็นนายตำรวจ ยศ พล.ต.อ. กับ พ.ต.อ. เป็นนักกฎหมายทั้งคู่ แต่เพราะความเกรงใจ จนเป็นเหตุให้ต้องติดคุก 2 ปี เพราะถึงเวลาไปทำอะไรที่ไม่สมควรก็โดน มาตรา 157
นายชวน กล่าวอีกว่า กรณีที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลตำรวจ ตนได้ทำหนังสือถึงพล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี 2566 ว่า ควรจะปกป้องแพทย์ไว้ก่อน ตนให้คำแนะนำว่าอย่าไปเซ็น หรือรับรองอะไรที่มันไม่ถูก ช่วยกรุณาป้องกันเอาไว้ก่อน เรื่องนี้มีปัญหา เพราะความจริงก็คือความจริงวันยังค่ำ วันนี้ไม่ปรากฏวันหน้าก็ต้องปรากฏ ตนรู้ว่าหลายคนไม่อยากทำผิด ในอดีตมีแพทย์คนหนึ่งต้องติดคุก เพราะเกรงใจ ตนมีรุ่นน้อง 2 คนจบธรรมศาสตร์ เป็นนายตำรวจ ยศ พล.ต.อ. กับ พ.ต.อ. เป็นนักกฎหมายทั้งคู่ แต่เพราะความเกรงใจ จนเป็นเหตุให้ต้องติดคุก 2 ปี เพราะถึงเวลาไปทำอะไรที่ไม่สมควรก็โดน มาตรา 157