รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า ผลของการฉีดวัคซีนโควืด-19 แบบ Monovalent XBB.1.5
ทีมงานจากสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษากลุ่มประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบ Monovalent XBB.1.5
โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และกลุ่มที่เคยได้รับวัคซีนรุ่นดั้งเดิม ทั้งแบบ 2 เข็ม 3 เข็ม และที่เคยฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนแบบ bIvalent
พบว่า การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นใหม่ที่ปรับสายพันธุ์เป็น XBB.1.5 นั้น จะช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยจากการติดเชื้อสายพันธุ์ JN.1 และสายพันธุ์ที่ระบาดก่อนหน้านี้ จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 60%
ในขณะที่ลดเสี่ยงป่วยจนต้องมารับการดูแลที่แผนกฉุกเฉิน และแผนกผู้ป่วยนอกได้ราว 50-55%
ดังนั้นการป้องกันตัวระหว่างใช้ชีวิตประจำวันจึงมีความสำคัญ
อ้างอิง
BNT162b2 XBB1.5-adapted Vaccine and COVID-19 Hospital Admissions and Ambulatory Visits in US Adults. medRxiv. 24 December 2023.