Center for Medical Genomics หรือ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รายงานว่า ไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอน BA.2.86 หรือมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “พิโรลา” ขึ้นชื่อในความสามารถในการจับกับผิวเซลล์ปอดของผู้ติดเชื้อได้ดีที่สุด แต่ยังหลบหนีภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับโอไมครอนที่ระบาดมาก่อนหน้า เช่น EG.5.1 และ HK.3 อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก กังวลว่า BA.2.86 อาจมีการกลายพันธุ์เพื่อหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น โดยพบมีการซุ่มตัวแพร่เชื้อในระดับต่ำๆ มาหลายเดือนแล้ว และก็เกิดโอไมครอนสายพันธุ์ JN.1 (B.1.1.529.2.86.1.1) เป็นรุ่นลูกของโอไมครอน BA.2.86 ซึ่งบนส่วนหนามมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นหนึ่งตำแหน่งคือ “L455S” ส่งผลให้มีความสามารถทั้งจับกับผิวเซลล์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในโลก ทำให้ในปัจจุบันกลายเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดโดดเด่นในฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ประเทศไทย พบโอไมครอน JN.1 แล้วจำนวน 1 ราย เมื่อ 28 ตุลาคม 2566 โดยมีการแชร์รหัสพันธุกรรม ทั้งจีโนมที่แยกได้จากผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID) คาดว่า ต้นปีหน้าอาจแพร่เป็นสายพันธุ์หลักเหมือนประเทศอื่น
ทั้งนี้ ประเทศไทย พบโอไมครอน JN.1 แล้วจำนวน 1 ราย เมื่อ 28 ตุลาคม 2566 โดยมีการแชร์รหัสพันธุกรรม ทั้งจีโนมที่แยกได้จากผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส(GISAID) คาดว่า ต้นปีหน้าอาจแพร่เป็นสายพันธุ์หลักเหมือนประเทศอื่น