xs
xsm
sm
md
lg

"บก.ลายจุด"ตั้งข้อสังเกต 5 ข้อ หลัง"ดร.เค็ง"ลาออก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า เปิด email ดร เค็ง ที่ ม.แม่ฟ้าหลวง ใช้เป็นหนังสือลาออก

ข้อสังเกต
1.การยื่นใบลาออกจะต้องดำเนินการผ่านเอกสาร โดยยื่นต่อผู้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งจะต้องมีรายเซ็นเจ้าของหนังสือกำกับ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2557 ข้อที่ 57

2.หาก มฟล อ้าง พรบ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2544 ว่าการส่ง email สามารถทดแทนการยื่นหนังสือลาออกได้แล้วนั้น โดยที่ ดร.เค็ง ยังนั่งทำงานอยุ่ที่มหาวิทยาลัยจนมีหนังสืออนุญาตให้ลาออกนั้น เหตุใดมหาวิทยาลัยไม่แจ้งหรือขอให้ ดร.เค็ง เขียนหนังสือลาออกเป็นทางการแทนที่จะยึดเอา email ฉบับนี้เป็นหนังสือลาออก ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯ

3.ข้อความใน email ฉบับดังกล่าวเต็มเป็นด้วยการบรรยายสภาวะการเจ็บป่วยทางจิตเวชอย่างเห็นได้ชัด และได้ถามไถ่ถึงการยกเว้นการชดใช้หนี้ ซึ่งการพิจารณาอนุมัติให้ลาออกจะต้องผ่านกระบวนการพูดคุยเรื่องการใช้หนี้ทุนก่อน แต่มหาวิทยาลัยกลับ่ละเลยกระบวนการที่ต้องทำก่อนอนุมัติการลาออก

4.ในหมายเหตุของ email ดังกล่าวมีการระบุว่าเป็นจดหมายที่ไม่เป็นทางการ ดังนั้นการที่ มฟล ยึด email ที่ไม่เป็นทางการนี้เป็นจดหมายลาออกนั้นได้อย่างไร

5.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 30” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 30 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต “

มหาวิทยาลัยฯ รับทราบอยู่แล้วว่า ดร.เค็ง มีอาการป่วยทางจิตเวชที่อังกฤษ 28 วัน และเมื่อกลับมาทำงานก็เกิดอาการกำเริบ และใน email ฉบับดังกล่าวก็ได้พูดถึงการเจ็บป่วยทางจิตเวช และภายหลังเหตุการณ์ลาออก ดร.เค็ง ยังได้ไปรักษาตัวอยู่ที่ รพ.ศรีธัญญา ซึ่งเป็นอาการป่วยที่ต่อเนื่องกันมา

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวต่อให้เข้ากับ พรบ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังขัดต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.30 อยู่ดี