ความคืบหน้าเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ จ.นราธิวาส ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (3 ธ.ค.) หลังฝนหยุดตกแล้ว แต่ท้องฟ้ายังมีเมฆฝนมืดครึ้มแผ่ปกคลุมทั้ง 13 อำเภอ ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของประชาชน ที่ปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม 4 อำเภอ คือ ยี่งอ แว้ง สุไหงปาดีและระแงะ จำนวน 18 ตำบล 46 หมู่บ้าน ที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉินเมื่อวานนี้นั้น มีปริมาณน้ำท่วมขังลดลงต่อเนื่อง โดยเหลือเพียง 16 ตำบล 39 หมู่บ้าน และเหลือโรงเรียนถูกน้ำท่วมขังอีก 3 แห่ง
อย่างไรก็ตาม แม้สภาวะฝนหยุดตก แต่ยังส่งผลให้แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรองรับมวลน้ำป่าจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีต้นกำเนิดในพื้นที่ อ.สุคิริน ไหลลงมาสมทบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 จนถึงปัจจุบัน เพื่อไหลระบายลงสู่ทะเลปากอ่าวด้าน อ.ตากใบ มีปริมาณน้ำล้นตลิ่งโดยสูงกว่าระดับตลิ่ง 0.54 เมตร จนได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของประชาชน โดยเฉพาะในหมู่บ้านน้ำตก หมู่ 5 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก มีปริมาณน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ย 50 ถึง 90 ซม. ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนกว่า 100 คน ต่างต้องอพยพสิ่งของสัมภาระที่จำเป็นหนีระดับน้ำท่วมขัง และได้นำยานพาหนะทุกชนิดมาจอดที่บริเวณปากซอยทางเข้าหมู่บ้านและบริเวณริมถนนใหญ่ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้สภาวะฝนหยุดตก แต่ยังส่งผลให้แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรองรับมวลน้ำป่าจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีต้นกำเนิดในพื้นที่ อ.สุคิริน ไหลลงมาสมทบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 จนถึงปัจจุบัน เพื่อไหลระบายลงสู่ทะเลปากอ่าวด้าน อ.ตากใบ มีปริมาณน้ำล้นตลิ่งโดยสูงกว่าระดับตลิ่ง 0.54 เมตร จนได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของประชาชน โดยเฉพาะในหมู่บ้านน้ำตก หมู่ 5 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก มีปริมาณน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ย 50 ถึง 90 ซม. ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนกว่า 100 คน ต่างต้องอพยพสิ่งของสัมภาระที่จำเป็นหนีระดับน้ำท่วมขัง และได้นำยานพาหนะทุกชนิดมาจอดที่บริเวณปากซอยทางเข้าหมู่บ้านและบริเวณริมถนนใหญ่ เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น