xs
xsm
sm
md
lg

“ลูกช้างป่าทับลาน”ขาใส่เฝือก -ลงน้ำหนักได้ 2 ฝ่าเท้าแล้ว จนท.ติดตามอาการใกล้ชิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ทีมสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติฯ รายงานอาการและการดูแลลูกช้างป่า"เดือน" โดยลูกช้างมีความอยากกินนมปกติ อุจจาระเป็นเนื้อครีมจนถึงเป็นเนื้อข้น วันนี้ปรับการให้อาหารเป็นน้ำต้มข้าวผสมเนื้อข้าวปั่นละเอียด ร่วมกับเริ่มให้นมผงชงสำหรับลูกช้างปริมาณน้อยก่อน (แยกคนละขวด) ปัสสาวะปกติ

กิจวัตรประจำวันในการดูแลลูกช้าง มีการพาเดินเล่นช้าๆ โดยยังอยู่บนอุปกรณ์ช่วยพยุงอยู่ตลอดเวลาโดยยกสองขาหลังที่เข้าเฝือกเหนือพื้นเล็กน้อย ขาหน้าไม่มีการดึงรั้งสามารถลงน้ำหนักได้เต็ม 2 ฝ่าเท้า ทำความสะอาดลดความชื้นของเฝือก การเปลี่ยนถุงหุ้มเฝือกเพื่อลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรก เช็คระดับรอกให้เหมาะสมทุกครั้งในการยืน และสลับให้เปลพยุงเพื่อลดแผลกดทับบริเวณขาหนีบ

สัตวแพทย์ทำการให้ผงโปรไบโอติก ยาลดกรดในกระเพาะ ยาลดปวดลดอักเสบ และยาปฏิชีวนะ พร้อมทั้งทำความสะอาดสะดือและแผลบริเวณขาหนีบจากการกดทับ

ทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( Magnetotherapy Vet ) ระบบดูแลกระดูก ควบคู่กับการรักษาทางยา โดยจะทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตามโปรแกรมการรักษา

อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติบางช่วงและกลับมาเป็นปกติทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าต่ำกว่าระดับปกติ จึงเสริมด้วยการให้น้ำเกลือและกลูโคส พบอาการท้องอืดบ้างเล็กน้อยเป็นบางช่วง ทำการช่วยกระตุ้นการขับถ่าย พาลุกยืน/เดิน ให้ยาบรรเทาอาการท้องอืด

ทาครีมบำรุงผิวหนัง เพื่อลดการแตกแห้งของผิวหนัง และทำการซ่อมเฝือกแข็งบริเวณขาหลังซ้าย โดยพันเฝือกให้สูงขึ้นมาในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้อาการโดยรวมยังคงเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดโดย สพ.ญ.พรรณราย ว่องวัฒนกิจ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สอส.สบอ.7 (นครราชสีมา)
สพ.ญ.ชนัญญา กาญจนสาขานายสัตวแพทย์ชำนาญการ
สอส.สบอ.1 (ปราจีนบุรี) หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน และ น.สพ.ปุญญพัฒน์ สารแขวีระกุล
สัตวแพทย์ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุงดูแลอย่างใกล้ชิดและประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง