จากที่มีการนำเสนอข่าวสารเรื่อง รัฐบาลอัดฉีดสหกรณ์ 5.5 หมื่นล้านบาท ซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิ 12,000 บาทต่อตันนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง
จากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบ 2 มาตรการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอ เป็นมาตรการที่รัฐเข้าไปช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 เป็นมิติใหม่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือชาวนา รวมทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เตรียมวงเงินเพื่อใช้ขับเคลื่อนมาตรการของรัฐบาล และกรมส่งเสริมสหกรณ์ก็มีแนวทางในการดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าวให้สำเร็จและเกิดผลดีกับชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งทั้ง 2 มาตรการจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ สำหรับ 2 มาตรการช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าว ผ่านสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 รวมวงเงิน 55,038.96 ล้านบาท ได้แก่ มาตรการที่ 1 สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี มีเป้าหมายการเก็บชะลอ 3 ล้านตัน วงเงินงบประมาณ 10,120.71 ล้านบาท รัฐช่วยค่าฝากเก็บข้าว 1,500 บาท/ตัน ให้เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางของสถาบันเกษตรกร หรือเกษตรกรระยะเวลา 1 – 5 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 – 29 ก.พ. 2567
ส่วนมาตรการที่ 2 สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม มีเป้าหมายในการรวบรวมข้าวเปลือก 1 ล้านตัน วงเงิน 44,437 ล้านบาท รัฐช่วยจ่ายดอกเบี้ย 3.85% และสหกรณ์จ่ายดอกเบี้ย 1% โดย ธ.ก.ส. จะเป็นแหล่งทุนให้สถาบันเกษตรกรกู้ยืมไปรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคานำตลาด ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินมาตรการ 15 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 – 31 ธ.ค. 2567
จากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบ 2 มาตรการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอ เป็นมาตรการที่รัฐเข้าไปช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 เป็นมิติใหม่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือชาวนา รวมทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เตรียมวงเงินเพื่อใช้ขับเคลื่อนมาตรการของรัฐบาล และกรมส่งเสริมสหกรณ์ก็มีแนวทางในการดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าวให้สำเร็จและเกิดผลดีกับชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งทั้ง 2 มาตรการจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ สำหรับ 2 มาตรการช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าว ผ่านสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 รวมวงเงิน 55,038.96 ล้านบาท ได้แก่ มาตรการที่ 1 สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี มีเป้าหมายการเก็บชะลอ 3 ล้านตัน วงเงินงบประมาณ 10,120.71 ล้านบาท รัฐช่วยค่าฝากเก็บข้าว 1,500 บาท/ตัน ให้เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางของสถาบันเกษตรกร หรือเกษตรกรระยะเวลา 1 – 5 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 – 29 ก.พ. 2567
ส่วนมาตรการที่ 2 สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม มีเป้าหมายในการรวบรวมข้าวเปลือก 1 ล้านตัน วงเงิน 44,437 ล้านบาท รัฐช่วยจ่ายดอกเบี้ย 3.85% และสหกรณ์จ่ายดอกเบี้ย 1% โดย ธ.ก.ส. จะเป็นแหล่งทุนให้สถาบันเกษตรกรกู้ยืมไปรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคานำตลาด ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินมาตรการ 15 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 – 31 ธ.ค. 2567