นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกาศขยายเวลาเปิดจองตั๋วล่วงหน้า 90 วัน จากเดิมสามารถจองล่วงหน้าได้ 30 วัน โดยนำร่องเฉพาะขบวนรถด่วนพิเศษ CNR (ขบวนพรีเมี่ยม) จำนวน 8 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถด่วนพิเศษอตราวิถี 9/10 กรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่-กรุงเทพอภิวัฒน์ (สายเหนือ) ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานวัตนา 23/24 กรุงเทพอภิวัฒน์-อุบลราชธานี-กรุงเทพอภิวัฒน์ (สายตะวันออกเอียงเหนือ) ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานมรรคา 25/26 กรุงเทพอภิวัฒน์-หนองคาย-กรุงเทพอภิวัฒน์ (สายตะวันออกเฉียงเหนือ) ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ 31/32 กรุงเทพอภิวัฒน์-ชุมทางหาดใหญ่-กรุงเทพอภิวัฒน์ (สายใต้) เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ซึ่งจะมีการปรับรูปแบบการจองตั๋วรถไฟล่วงหน้า โดยต้องคำนวณระยะทาง ซึ่งสร้างความสับสนให้กับประชาชน นั้น
ทางกระทรวงฯ ชี้แจงว่า ไม่ว่าผู้โดยสารจะเดินทางในระยะใกล้หรือไกล หากอยู่ในเส้นทางของ 8 ขบวนดังกล่าว สามารถจองตั๋วล่วงหน้าใน 90 วัน ซึ่งหลังจากเปิดให้จองในวันแรก พบว่ามีประชาชนเข้าไปจองตั๋วช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 หรือขาไป ในช่วงวันที่ 28-31 ธันวาคม 2566 ขากลับ 1-2 มกราคม 2567 ครบทั้ง 4,000 ที่นั่ง หรือขบวนละ 500 ที่นั่ง ในจำนวนนี้ยังไม่รวมกับขบวนรถปกติ ซึ่งจะเปิดให้จองก่อนวันเดินทางล่วงหน้า 30 วัน ซึ่งในช่วงปกติมียอดการเดินทางอยู่แล้ว 80,000 คนต่อวัน แต่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดว่า ผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติ 20% แต่หากพบว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลทางการรถไฟฯ จะมีการเพิ่มขบวนรถเสริมต่อไป
ทางกระทรวงฯ ชี้แจงว่า ไม่ว่าผู้โดยสารจะเดินทางในระยะใกล้หรือไกล หากอยู่ในเส้นทางของ 8 ขบวนดังกล่าว สามารถจองตั๋วล่วงหน้าใน 90 วัน ซึ่งหลังจากเปิดให้จองในวันแรก พบว่ามีประชาชนเข้าไปจองตั๋วช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 หรือขาไป ในช่วงวันที่ 28-31 ธันวาคม 2566 ขากลับ 1-2 มกราคม 2567 ครบทั้ง 4,000 ที่นั่ง หรือขบวนละ 500 ที่นั่ง ในจำนวนนี้ยังไม่รวมกับขบวนรถปกติ ซึ่งจะเปิดให้จองก่อนวันเดินทางล่วงหน้า 30 วัน ซึ่งในช่วงปกติมียอดการเดินทางอยู่แล้ว 80,000 คนต่อวัน แต่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดว่า ผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติ 20% แต่หากพบว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลทางการรถไฟฯ จะมีการเพิ่มขบวนรถเสริมต่อไป