xs
xsm
sm
md
lg

กรมอุทยานฯ เผยแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายพันธุ์อีกัวน่าเขียว- สัตว์ต่างถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


แถลงการณ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง การแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายพันธุ์ของอีกัวน่าเขียว สัตว์ต่างถิ่น

จากกรณีที่ได้เกิดสถานการณ์อีกัวน่าเขียว สัตว์ต่างถิ่น มีการแพร่กระจายพันธุ์เป็นจำนวนมากในพื้นที่ชุมชน เขาพระยาเดินธง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยการเข้าทำลายพืชผลทาง การเกษตร ตลอดจนการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอชี้แจงให้ทราบว่าอีกัวน่าเขียวเป็นสัตว์ป่าควบคุมกลุ่มที่ 1 สัตว์ป่า ที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ลำดับที่ 690 อีกัวน่าทุกชนิดในสกุล Iguana : มาตรา 9 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ตามประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ. 2565 โดยอิกัวน่าเขียวมักพบ เชื้อซาลโมเนลลา ซึ่งคนอาจติดเชื้อจากการสัมผัสโดยตรง และทางอ้อมจากการขับถ่ายของเสียไว้ตามทาง ถนน บ้านเรือน อาจปนเปื้อนอาหาร ซึ่งจะมีอาการอาเจียน ท้องเสียได้ ซึ่งทีมสัตวแพทย์ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้เข้าพื้นที่ทำการตรวจ เชื้อและเก็บตัวอย่าง เพื่อไปตรวจสอบว่าอิกัวน่าเขียวบริเวณดังกล่าว จะพบเชื้อซาลโมเนลลาหรือไม่
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงขอแจ้งแนวทางสำหรับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการแพร่กระจาย พันธุ์ของอีกัวน่าเขียว ดังนี้
1. หากมีการพบเห็นอิกัวน่าเขียว ให้โทรฯ แจ้งทางสายด่วนหมายเลข 1362 กรมอุทยานแห่งชาติฯ จะประสาน เจ้าหน้าที่ในบริเวณใกล้เคียง ไปดำเนินการดักจับเพื่อนำส่งไปดูแลตามสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า และศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่มี อยู่ทั่วประเทศ
2. ผู้ที่ครอบครองอีกัวน่าเขียว ให้มาแจ้งการครอบครองต่อเจ้าหน้าที่ สำหรับในพื้นที่ต่างจังหวัดให้แจ้งต่อ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ในท้องที่รับผิดชอบ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แจ้งต่อกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่า ตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อนึ่ง สำหรับผู้ที่ครอบครองสัตว์ป่าต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายโดยไม่ปล่อยให้สัตว์ที่อยู่ในครอบครอง เป็นอิสระ ซึ่งการปล่อยสัตว์ป่าควบคุมมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ต้องเลี้ยง ไปตลอดชีวิตและหากไม่ประสงค์จะเลี้ยงให้แจ้งและส่งมอบให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รับไปดูแล

ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการสำรวจอีกัวน่าเขียว ที่ไม่มี ผู้ครอบครองทั่วประเทศ และดำเนินการดักจับเพื่อนำมาดูแลต่อไปแล้ว