วันนี้ (21 ต.ค.) น.พ.ฆนัท ครุธกูล อายุรแพทย์โรคหัวใจ นายกสมาคมโภชนาการเพื่อกีฬาและสุขภาพ เปิดเผยสถิติโรคความดันโลหิตสูงว่า พบคนไทยเป็น 14 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 7 ล้านคน ไม่ยอมมาทำการรักษา ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะโรคหัวใจ ไตวายเรื้อรัง โรคเส้นเลือดในสมองตีบ หรืออาจจะแตกได้
ทั้งนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ การมีความดันโลหิตค่าบนสูงเกินกว่า 140 มม.ปรอท คือ ค่าล่างสูงกว่า 90 มม.ปรอท ซึ่งโรคนี้อาจถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม แต่เนื่องจากในระยะแรก ภาวะความดันโลหิตสูง จะไม่มีอาการ เมื่อความดันโลหิตสูงอยู่ในระยะเวลานาน 5-10 ปี จะเริ่มมีอาการต่างๆ เกิดขึ้น ดังนั้น ภาวะความดันโลหิตสูงจะเปรียบได้กลับฆาตกรเงียบที่จะบั่นทอนสุขภาพทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะไตเสื่อมและโรคหัวใจ สูงกว่าปกติ 3-6 เท่า
ทั้งนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ การมีความดันโลหิตค่าบนสูงเกินกว่า 140 มม.ปรอท คือ ค่าล่างสูงกว่า 90 มม.ปรอท ซึ่งโรคนี้อาจถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม แต่เนื่องจากในระยะแรก ภาวะความดันโลหิตสูง จะไม่มีอาการ เมื่อความดันโลหิตสูงอยู่ในระยะเวลานาน 5-10 ปี จะเริ่มมีอาการต่างๆ เกิดขึ้น ดังนั้น ภาวะความดันโลหิตสูงจะเปรียบได้กลับฆาตกรเงียบที่จะบั่นทอนสุขภาพทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะไตเสื่อมและโรคหัวใจ สูงกว่าปกติ 3-6 เท่า