ตามที่มีบทความในประเด็นสุขภาพเรื่อง กินเต้าหู้ถั่วเหลือง ทำให้เป็นโรคพาร์กินสันนั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีที่มีข้อความชวนเชื่อระบุว่า ผู้ที่กินเต้าหู้ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเยอะสมองจะถูกทำลาย ทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง การกินเต้าหู้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน โดยเต้าหู้นั้นทำมาจากถั่วเหลือง มีโปรตีนในปริมาณที่สูง
นอกจากนี้ ในถั่วเหลืองยังพบสารกลุ่มไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งเป็นสารที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย มีส่วนช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ แต่ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะหากกินในปริมาณที่มากไป อาจทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินความจำเป็นได้
กรณีที่มีข้อความชวนเชื่อระบุว่า ผู้ที่กินเต้าหู้ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเยอะสมองจะถูกทำลาย ทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง การกินเต้าหู้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน โดยเต้าหู้นั้นทำมาจากถั่วเหลือง มีโปรตีนในปริมาณที่สูง
นอกจากนี้ ในถั่วเหลืองยังพบสารกลุ่มไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งเป็นสารที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย มีส่วนช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ แต่ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะหากกินในปริมาณที่มากไป อาจทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินความจำเป็นได้