รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ทีมงานจาก US NIH เผยแพร่ผลการศึกษาใน NEJM Evidence วันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา
กลุ่มคนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วประสบปัญหาการรับรสผิดปกติหรือสูญเสียการรับรสไปนั้น เมื่อทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณลิ้นไปตรวจ พบว่าสามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสในเนื้อเยื่อได้ แม้ตรวจนานถึงกว่า 15 เดือนหลังติดเชื้อ
และยังพบภาวะต่อมรับรสฝ่อหรือหายไปด้วย
เป็นหลักฐานวิชาการที่ชี้ชัดว่าโควิดนั้นไม่ได้ติดแค่ปอด แต่ไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ ส่งผลกระทบระยะยาวตามมา
การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุดครับ