พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ เจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เท่าที่ทราบมีพรรคการเมืองบางพรรคมีนโยบายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเกี่ยวเนื่องด้วยศาสนาและพระพุทธศาสนา ซึ่งสำหรับพระสงฆ์ทุกรูปให้ความเคารพต่อมติมหาเถรสมาคม (มส.) ที่ไม่ให้พระสงฆ์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเกรงจะสูญเสียความเป็นกลางและไม่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนโดยรวม โดยในเรื่องนี้ พระสงฆ์ทุกรูปรวมทั้งตนต่างปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ขณะนี้ กลับมีพรรคการเมืองบางพรรค แกนนำพรรคการเมืองบางคนได้พูดผ่านเวที Future Of Creative Economy ที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ซึ่งเผยแพร่ทางสื่อมวลชน ว่า 6 เปลี่ยนเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคมไทย ข้อแรกคือ เปลี่ยนกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นกระทรวงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งในฐานะพระสงฆ์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายดังกล่าว จึงอยากถามพรรคการเมืองพรรคนั้นว่า เมื่อมีแนวนโยบายอย่างนี้แล้ว ศาสนาทุกศาสนาและพระพุทธศาสนาจะอยู่ตรงใหน ในโครงสร้างและแนวนโยบายแห่งรัฐ อย่าลืมว่ากระทรวงวัฒนธรรมนั้น แยกออกมาจากกระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะเรื่องศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี โดยเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ทั่วโลกชื่นชม นักท่องเที่ยวทั่วโลกส่วนหนึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และความชื่นชอบด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ดังกล่าวที่ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตเติบโต และยังช่วยกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนคนรากหญ้าได้อย่างแท้จริง แล้วจะมายุบกระทรวงวัฒนธรรมเปลี่ยนเป็นกระทรวงอื่น หากเกิดยุบจริงตานโยบายของพรรค แล้วกระทรวงใหม่ที่ว่านี้งานจะซ้ำซ้อนกับกระทรวงด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิมแล้วหรือไม่
ขณะเดียวกัน ภาระงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมเดิมจะไปอยู่ไหน หรือเพราะก่อนหน้านี้ แกนนำของพรรคดังกล่าวที่กลายมาเป็นผู้ช่วยหาเสียงเคยบอกไว้ว่า มีนโยบายให้มีศาสนาเสรี และรัฐไม่ต้องอุปถัมภ์ศาสนา รวมทั้งพระพุทธศาสนา
ขณะเดียวกัน ภาระงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมเดิมจะไปอยู่ไหน หรือเพราะก่อนหน้านี้ แกนนำของพรรคดังกล่าวที่กลายมาเป็นผู้ช่วยหาเสียงเคยบอกไว้ว่า มีนโยบายให้มีศาสนาเสรี และรัฐไม่ต้องอุปถัมภ์ศาสนา รวมทั้งพระพุทธศาสนา