xs
xsm
sm
md
lg

นิด้าโพลรอบสามพลิก! ปชช.อยากให้"พิธา"เป็นนายกฯ มากกว่า"อุ๊งอิ๊ง"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายสุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล แถลงผลสำรวจประชาชน เรื่อง "ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 3" ระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ 2,500 ตัวอย่าง โดยถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 35.44 ระบุว่าเป็นนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 29.20 น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร พรรคเพื่อไทย
อันดับ 3 ร้อยละ 14.84 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ
อันดับ 4 ร้อยละ 6.76 นายเศรษฐา ทวีสิน พรรคเพื่อไทย
อันดับ 5 ร้อยละ 3.00 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 6 ร้อยละ 2.48 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 1.80 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 8 ร้อยละ 1.68 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 9 ร้อยละ 1.36 นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 10 ร้อยละ 1.32 นายกรณ์ จาติกวณิช พรรคชาติพัฒนากล้า
ร้อยละ 2.12 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุ วรรณ พรรคพลังประชารัฐ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคไทยภักดี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคประชาชาติ นายวราวุธ ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรครวมไทยสร้างชาติ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไลย์ และไม่ตอบ / ไม่สนใจ

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจศึกเลือกต้ง 2566 คร้ังที่ 2 เดือนเมษายน 2566 พบว่าผู้ที่ระบุว่าน.ส.แพทองธาร คุณหญิงสุดารัตน์ นายจุรินทร์ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ นายอนุทิน นายกรณ์ และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่านายพิธา พล.อ.ประยุทธ์ และนายเศรษฐา มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

สำหรับพรรคกรเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 38.32 พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 33.96 พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 12.08 พรรครวมไทยสร้างชาติ
อันดับ 4 ร้อยละ 4.28 พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 2.92 พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 6 ร้อยละ 1.68 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 7 ร้อยละ 1.60 พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 8 ร้อยละ 1.56 พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 9 ร้อยละ 1.24 พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 พรรคชาติพัฒนากล้า
ร้อยละ 1.36 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเทิดไท พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคประชากรไทย

ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 37.92 พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 35.36 พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 12.84 พรรครวมไทยสร้างชาติ
อันดับ 4 ร้อยละ 3.32 พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 2.36 พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 6 ร้อยละ 1.68 พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 1.60 พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 8 ร้อยละ 1.28 พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 9 ร้อยละ 1.24 ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 พรรคชาติพัฒนกล้า
ร้อยละ 1.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคประชาชาติ rรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเทิดไท พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเศรษฐกิจไทยและพรรคพลังสังคมใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจศึกเลือกตั้ 2566 ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2566 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติพัฒนากล้า และยังไม่ตัดสินใจ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า พรรคก้าวไกลและพรรครวมไทยสร้างชาติมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น