น.พ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นักจิตวิทยา ชี้แจงถึงเหตุที่คล้ายกับคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง Serial killer ว่า เป็นการทำฆาตกรรมต่อเนื่องมากกว่า 2 ครั้ง โดยมีการเว้นช่วงในแต่ละครั้ง โดยผู้กระทำอาจแบ่งเป็น 2 สาเหตุ คือป่วย และไม่ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน หรือความต้องการทางเพศ
ผู้กระทำที่มีอาการป่วยจะมีอาการหลงผิด หวาดระแวง และมักจะใช้วิธีรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิดของตนเอง อาการหลงผิดนี้จะมีลักษณะเป็นระบบจนแยกยากจากความเชื่อที่ฝังหัวในแบบอคติต่อคนที่แตกต่างด้วย เชื้อชาติ ศาสนา เพศสภาพ ความพิการ การฆาตกรรมนี้จึงมักทำกับคนนอกครอบครัว ผู้กระทำที่มีลักษณะกระทำเพื่อผลประโยชน์มักจะวางแผน เพื่อให้ได้ประโยชน์ในรูปแบบทรัพย์สินเงินทอง (เงินประกัน, มรดก, หนี้ ฯลฯ) และมักกระทำต่อคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว
ทั้งนี้ Serial killer ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 จะเป็นผู้ชายและใช้วิธีรุนแรง เช่น ยิง แทง กดน้ำ และผู้กระทำมักมีอาการป่วยหรือด้วยแรงจูงใจทางเพศ ส่วน serial killer ผู้หญิงมักจะเป็นแบบเพื่อผลประโยชน์และส่วนใหญ่ใช้วิธีไม่รุนแรง โดยเฉพาะใช้ยาพิษ ข้อคิดเห็นทางสุขภาพจิตที่สำคัญคือ ในกลุ่มป่วยทางจิตมักจะเป็นผู้ที่แยกตัว สมาชิกครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิดจึงมีความสำคัญในการเห็นสัญญาณเตือนและนำเข้าสู่การักษาแต่เนิ่น ๆ ส่วนในกลุ่มที่ไม่ป่วยนั้น มีเหตุปัจจัยที่ส่งผล เช่น การได้รับความรุนแรงและการเลี้ยงดูที่ขาดการปลูกฝังความรับผิดชอบชั่วดี ซึ่งทั้ง 2 อย่าง มาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก
ผู้กระทำที่มีอาการป่วยจะมีอาการหลงผิด หวาดระแวง และมักจะใช้วิธีรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิดของตนเอง อาการหลงผิดนี้จะมีลักษณะเป็นระบบจนแยกยากจากความเชื่อที่ฝังหัวในแบบอคติต่อคนที่แตกต่างด้วย เชื้อชาติ ศาสนา เพศสภาพ ความพิการ การฆาตกรรมนี้จึงมักทำกับคนนอกครอบครัว ผู้กระทำที่มีลักษณะกระทำเพื่อผลประโยชน์มักจะวางแผน เพื่อให้ได้ประโยชน์ในรูปแบบทรัพย์สินเงินทอง (เงินประกัน, มรดก, หนี้ ฯลฯ) และมักกระทำต่อคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว
ทั้งนี้ Serial killer ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 จะเป็นผู้ชายและใช้วิธีรุนแรง เช่น ยิง แทง กดน้ำ และผู้กระทำมักมีอาการป่วยหรือด้วยแรงจูงใจทางเพศ ส่วน serial killer ผู้หญิงมักจะเป็นแบบเพื่อผลประโยชน์และส่วนใหญ่ใช้วิธีไม่รุนแรง โดยเฉพาะใช้ยาพิษ ข้อคิดเห็นทางสุขภาพจิตที่สำคัญคือ ในกลุ่มป่วยทางจิตมักจะเป็นผู้ที่แยกตัว สมาชิกครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิดจึงมีความสำคัญในการเห็นสัญญาณเตือนและนำเข้าสู่การักษาแต่เนิ่น ๆ ส่วนในกลุ่มที่ไม่ป่วยนั้น มีเหตุปัจจัยที่ส่งผล เช่น การได้รับความรุนแรงและการเลี้ยงดูที่ขาดการปลูกฝังความรับผิดชอบชั่วดี ซึ่งทั้ง 2 อย่าง มาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก