น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรมควบคุมโรครายงานถึงสถานการณ์โรคหัดในประเทศไทย ปี 2565 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคหัดจำนวน 230 ราย และในปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 19 เมษายน 2566 มีรายงานผู้ป่วยโรคหัดแล้ว 79 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.12 ต่อแสนประชากร แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
ทั้้งนี้ พบอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอายุแรกเกิด - 4 ปี ร้อยละ 35.44 กลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 18.99 และกลุ่มอายุ 35-44 ปี ร้อยละ 16.46 ตามลำดับ
สำหรับจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ยโสธร ภูเก็ต ยะลา นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ แต่ยังไม่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน
อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด (MMR) ตั้งแต่วัยเด็ก โดยกรมควบคุมโรคแนะนำว่า ให้ฉีด 2 เข็ม เข็มแรกเมื่ออายุ 9 -12 เดือน และเข็มที่สองตอนอายุ 2 ปีครึ่ง ซึ่งโรคดังกล่าวมักเกิดการระบาดในพื้นที่ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำกว่า ร้อยละ 95 ประชาชนควรพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีน ตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อมีอาการไข้ ไอ และผื่นขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เมื่อได้รับการวินิจฉัยยืนยันโรคหัดแล้ว ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 4 วัน หลังจากผื่นขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
ทั้้งนี้ พบอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอายุแรกเกิด - 4 ปี ร้อยละ 35.44 กลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 18.99 และกลุ่มอายุ 35-44 ปี ร้อยละ 16.46 ตามลำดับ
สำหรับจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ยโสธร ภูเก็ต ยะลา นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ แต่ยังไม่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน
อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด (MMR) ตั้งแต่วัยเด็ก โดยกรมควบคุมโรคแนะนำว่า ให้ฉีด 2 เข็ม เข็มแรกเมื่ออายุ 9 -12 เดือน และเข็มที่สองตอนอายุ 2 ปีครึ่ง ซึ่งโรคดังกล่าวมักเกิดการระบาดในพื้นที่ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำกว่า ร้อยละ 95 ประชาชนควรพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีน ตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อมีอาการไข้ ไอ และผื่นขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เมื่อได้รับการวินิจฉัยยืนยันโรคหัดแล้ว ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 4 วัน หลังจากผื่นขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422