xs
xsm
sm
md
lg

"หมอธีระวัฒน์" เตือนฝุ่น PM2.5 ทำให้โควิดในไทยดุ ผู้ป่วยอาการแรงขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

น.พ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์​สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัววันนี้ (17 เม.ย.) ระบุว่า ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ สวทช. และที่ปรึกษากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อพิจารณาเรื่อง XBB ดังนี้

1. เรื่องที่บอกว่า XBB.1.16 เป็นไวรัสที่เกาะติดและติดเชื้อเซลล์ของมนุษย์ได้ดีกว่าทุกสายพันธุ์ทั่วโลกนั้น (ค่า KD ยิ่งน้อย ยิ่งเกาะติดแน่น) ไม่เป็นความจริง

1.1 ค่า KD ของ XBB.1.16 น้อยกว่า XBB.1 จริง แสดงว่าแน่นกว่า แต่ไม่แน่นไปกว่า XBB.1.15 (สีชมพู)

1.2 XBB.1.16 ไม่ได้มีความโดดเด่นกว่า XBB.1.5 เพราะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

1.3 จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่รายงานออกมา จะสรุปว่า XBB.1.16 เกาะติดและติดเชื้อเซลล์ของมนุษย์ได้ดีกว่าทุกสายพันธุ์ทั่วโลก ไม่น่าเป็นความจริง

2. การหนีภูมิจากแอนติบอดี เป็นเรื่องปกติของไวรัสในตระกูล XBB ทุุกตัวที่หนีภูมิเก่งอยู่แล้ว

2.1 XBB.1.16 ไม่ได้หนีภูมิคุ้มกันโดดเด่นกว่าตัวอื่น ๆ

2.2 XBB.1.16 ต่อซีรั่มคนติดเชื่้อ BA.2 มาได้ค่า 142 และ ต่อซีรั่มคนติดเชื้อ BA.5 มาได้ค่า 252

2.3 XBB.1.16 หนีภูมิสู้ XBB.1.15 ยังไม่ได้เลย

3. XBB.1.15 ในไทยพบมาพอสมควร (จากข้อมูล NIH กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)

3.1 XBB.1.16 จากอินเดียในสภาวะที่ไทยมี XBB.1.15 อยู่ในพื้นที่พอสมควรแล้ว จะไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ตามที่หลาย ๆ คนกังวล

3.2 บริบทของอินเดียไม่เหมือนกับไทย

ทั้งนี้ ที่ทำให้โควิด ซึ่งสายพันธ์นี้ไม่ได้ดุร้ายกว่าที่ผ่านมา ดูตื่นเต้น อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ คือ PM 2.5 ที่ทำร้ายเยื่อบุ ตา ทางเดินหายใจ ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และการอักเสบจาก PM 2.5 ที่ไม่ควรเกิน 13.3 ด้วยซ้ำ จะปะทุไปทั่วร่าง ผสมโรงกับการติดเชื้อทั้งหลาย ประเทศไทยทำให้เชื้อธรรมดาดูดุร้ายขึ้น