นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ว่า มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2
สำหรับภาพรวมปี 2565 อัตราการมีงานทำและชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด การจ้างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจ้างงานในสาขานอกภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า และสาขาการผลิตมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต
สำหรับหนี้สินครัวเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จาก 3.5 ของไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น โดยไตรมาส 3/65 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.90 ล้านล้านบาท ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 86.8 ลดลงจากร้อยละ 88.1 จากไตรมาสที่ผ่านมา
สำหรับภาพรวมปี 2565 อัตราการมีงานทำและชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด การจ้างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจ้างงานในสาขานอกภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า และสาขาการผลิตมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต
สำหรับหนี้สินครัวเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จาก 3.5 ของไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น โดยไตรมาส 3/65 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.90 ล้านล้านบาท ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 86.8 ลดลงจากร้อยละ 88.1 จากไตรมาสที่ผ่านมา