นายรุ่งโรจน์ อัศวกุลธารินท์ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ (สบอ.) 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยถึงกรณีพบเสือโคร่งตายภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร ว่า ได้รับรายงานจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หลังเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.6 (ซับตามิ่ง) แจ้งทางวิทยุสื่อสารว่าพบเสือโคร่งขนาดโตเต็มวัยนอนนิ่งอยู่บริเวณริมลำห้วยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา และเมื่อเข้าตรวจสอบพบว่า เสือโคร่งตัวดังกล่าง ตายแล้ว
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริเวณลำตัวและคอมีบาดแผลคล้ายถูกฟันเขี้ยวของสัตว์ป่ากัด มีร่องรอยเล็บของสัตว์ป่าขนาดใหญ่อยู่ทั่วลำตัว บริเวณข้อเท้าหน้าหัก มีแผลเน่าหลายจุด ตรวจสอบบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุไม่พบสิ่งผิดปกติและบุคคลอื่นแต่อย่างใด พร้อมกับประสานขอนายสัตวแพทย์ประจำ สบอ.12 เข้าไปตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตายในพื้นที่ แต่เนื่องจากมีระยะทางที่ไกล ทำให้ไม่สามารถเข้าตรวจพิสูจน์การตายของเสือโคร่งในพื้นที่เกิดเหตุได้ จึงขอกำลังสนับสนุนเพื่อขนย้ายเสือโคร่งออกมาจากที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะนำมาตรวจสอบสาเหตุการตายที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า บาดแผลที่พบตามลำตัวของเสือโคร่งไม่ใช่บาดแผลสด สันนิษฐานสาเหตุการตายของเสือโคร่งได้ว่า เกิดการติดเชื้อจากบาดแผลเข้าสู่กระแสเลือด (septicemia) ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เป็นการตายตามธรรมชาติในระบบนิเวศ
ทั้งนี้ จากการพิสูจน์เปรียบเทียบลวดลายบนตัวเสือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จำแนกระบุยืนยันตัวเสือโคร่ง พบว่า เสือโคร่งมีรหัสข้อมูลตามโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง WWF หรือชื่อ เสือวิจิตร ที่ข้อมูลสถานีวิจัยเขานางรำบันทึกไว้
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริเวณลำตัวและคอมีบาดแผลคล้ายถูกฟันเขี้ยวของสัตว์ป่ากัด มีร่องรอยเล็บของสัตว์ป่าขนาดใหญ่อยู่ทั่วลำตัว บริเวณข้อเท้าหน้าหัก มีแผลเน่าหลายจุด ตรวจสอบบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุไม่พบสิ่งผิดปกติและบุคคลอื่นแต่อย่างใด พร้อมกับประสานขอนายสัตวแพทย์ประจำ สบอ.12 เข้าไปตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตายในพื้นที่ แต่เนื่องจากมีระยะทางที่ไกล ทำให้ไม่สามารถเข้าตรวจพิสูจน์การตายของเสือโคร่งในพื้นที่เกิดเหตุได้ จึงขอกำลังสนับสนุนเพื่อขนย้ายเสือโคร่งออกมาจากที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะนำมาตรวจสอบสาเหตุการตายที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า บาดแผลที่พบตามลำตัวของเสือโคร่งไม่ใช่บาดแผลสด สันนิษฐานสาเหตุการตายของเสือโคร่งได้ว่า เกิดการติดเชื้อจากบาดแผลเข้าสู่กระแสเลือด (septicemia) ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เป็นการตายตามธรรมชาติในระบบนิเวศ
ทั้งนี้ จากการพิสูจน์เปรียบเทียบลวดลายบนตัวเสือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จำแนกระบุยืนยันตัวเสือโคร่ง พบว่า เสือโคร่งมีรหัสข้อมูลตามโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง WWF หรือชื่อ เสือวิจิตร ที่ข้อมูลสถานีวิจัยเขานางรำบันทึกไว้