นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ออกแถลงการณ์ ถึงนายกรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช เรื่อง คืนความชอบธรรมให้บุคลากรและการบริหารงานในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรณีที่นายรัชฏา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าจับกุม ขณะเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 เนื่องจากมีหลักฐานว่ามีการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ใต้บังคับบัญชา และเรียกเอารายได้จากโครงการต่าง ๆ ในการดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติฯ โดยถือเป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 149 นั้น
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการปกป้อง ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า พิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นเรื่องร้ายแรงของหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ปกป้อง ดูแล ผืนป่าและสัตว์ป่าจากเงินภาษีของประชาชน เนื่องจากการเรียกรับผลประโยชน์ และเรียกเอารายได้จากโครงการต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ล้มเหลวและขาดประสิทธิภาพของการบริหารหน่วยงาน ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเฉพาะความล้มเหลวในการสรรหา แต่งตั้ง บุคลากรในองค์กรที่เหมาะสม เข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุดในการดูแล ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ผืนป่าและสัตว์ป่า หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไข จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านบุคลากร และการบริหารงานในองค์กรได้เลย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จึงขอเสนอแนวทางการคืนความชอบธรรมให้บุคลากรและการบริหารงานในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดังต่อไปนี้
1.ระยะเร่งด่วน (มกราคม-มีนาคม 2566) เร่งรัดการคืนความชอบธรรมให้กับบุคลากรของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่ถูกโยกย้ายอย่างไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรม โดยคืนตำแหน่งที่ถูกโยกย้ายในช่วงที่ผ่านมา และตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาบุคลากรเข้ารับตำแหน่งตามระบบ เพื่อให้การเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าพื้นที่อนุรักษ์ทั้งอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นไปตามความรู้ และประสบการณ์ โดยเฉพาะการนำระบบ Career Path ที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำเรียบร้อยแล้วมาพิจารณาใช้ และกระบวนการสรรหาบุคลากรเข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าพื้นที่ควรโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้จากภายนอก
2. ระยะที่ 2 (เมษายน-ตุลาคม 2566) แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง ปรับโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานภายในกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพื่อลดความซ้ำซ้อนการใช้งบประมาณ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามภารกิจความจำเป็นเร่งด่วน รวมถึงความเหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณ จากงบประมาณประจำปี เงินรายได้ของอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญกับหน่วยงานภาคสนาม อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และมุ่งเน้น ให้ข้าราชการควรต้องไปทำงานอนุรักษ์อยู่ในพื้นที่
3. สุดท้าย การสรรหาบุคคลให้เข้ามาทำหน้าที่ผู้บริหารกรมอุทยานแห่งชาติฯ จะต้องพิจารณาจากความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาคัดเลือกอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลกระบวนการสรรหาดังกล่าว จะทำให้การสรรหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างการยอมรับร่วมกันในองค์กร และสาธารณชนอย่างแท้จริง
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอเหล่านี้จะได้รับการพิจารณาจากนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำไปสู่การพิจารณาปฏิบัติอย่างจริงจัง และจริงใจ เพื่อคืนขวัญกำลังใจ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความชอบธรรมของข้าราชการที่ทำหน้าที่ดูแล ปกป้อง พิทักษ์รักษาผืนป่าและสัตว์ป่า ทั้งนี้ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้คงความสมบูรณ์คืนสู่ประชาชนคนไทย และนานาชาติสืบต่อไป
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการปกป้อง ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า พิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นเรื่องร้ายแรงของหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ปกป้อง ดูแล ผืนป่าและสัตว์ป่าจากเงินภาษีของประชาชน เนื่องจากการเรียกรับผลประโยชน์ และเรียกเอารายได้จากโครงการต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ล้มเหลวและขาดประสิทธิภาพของการบริหารหน่วยงาน ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเฉพาะความล้มเหลวในการสรรหา แต่งตั้ง บุคลากรในองค์กรที่เหมาะสม เข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุดในการดูแล ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ผืนป่าและสัตว์ป่า หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไข จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านบุคลากร และการบริหารงานในองค์กรได้เลย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จึงขอเสนอแนวทางการคืนความชอบธรรมให้บุคลากรและการบริหารงานในกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดังต่อไปนี้
1.ระยะเร่งด่วน (มกราคม-มีนาคม 2566) เร่งรัดการคืนความชอบธรรมให้กับบุคลากรของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่ถูกโยกย้ายอย่างไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรม โดยคืนตำแหน่งที่ถูกโยกย้ายในช่วงที่ผ่านมา และตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาบุคลากรเข้ารับตำแหน่งตามระบบ เพื่อให้การเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าพื้นที่อนุรักษ์ทั้งอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นไปตามความรู้ และประสบการณ์ โดยเฉพาะการนำระบบ Career Path ที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำเรียบร้อยแล้วมาพิจารณาใช้ และกระบวนการสรรหาบุคลากรเข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าพื้นที่ควรโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้จากภายนอก
2. ระยะที่ 2 (เมษายน-ตุลาคม 2566) แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง ปรับโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานภายในกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพื่อลดความซ้ำซ้อนการใช้งบประมาณ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามภารกิจความจำเป็นเร่งด่วน รวมถึงความเหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณ จากงบประมาณประจำปี เงินรายได้ของอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญกับหน่วยงานภาคสนาม อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และมุ่งเน้น ให้ข้าราชการควรต้องไปทำงานอนุรักษ์อยู่ในพื้นที่
3. สุดท้าย การสรรหาบุคคลให้เข้ามาทำหน้าที่ผู้บริหารกรมอุทยานแห่งชาติฯ จะต้องพิจารณาจากความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาคัดเลือกอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลกระบวนการสรรหาดังกล่าว จะทำให้การสรรหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างการยอมรับร่วมกันในองค์กร และสาธารณชนอย่างแท้จริง
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอเหล่านี้จะได้รับการพิจารณาจากนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำไปสู่การพิจารณาปฏิบัติอย่างจริงจัง และจริงใจ เพื่อคืนขวัญกำลังใจ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความชอบธรรมของข้าราชการที่ทำหน้าที่ดูแล ปกป้อง พิทักษ์รักษาผืนป่าและสัตว์ป่า ทั้งนี้ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้คงความสมบูรณ์คืนสู่ประชาชนคนไทย และนานาชาติสืบต่อไป