วันนี้ (15 ธ.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำต่อเนื่องกันไป ผ่านระบบ VTC ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ หลังจากเดินทางลงตรวจราชการขับเคลื่อนแก้ปัญหาน้ำในภูมิภาคหลายพื้นที่ โดยที่ประชุมรับทราบสรุปผลการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่สำคัญ ปี 2565 และการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ( 61-65 ) รวมทั้งความก้าวหน้าโครงการแก้มลิงทุ่งหิน จว.สมุทรสงคราม
นอกจากนี้ ยังร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบ โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ตั้งแต่อยุธยา-สมุทรปราการ และฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ อยุธยา-สมุทรสาคร เพื่อระบายน้ำเหนือ-ใต้ ออกสู่ทะเลทั้งสองฝั่ง โดยปรับปรุงโครงข่ายชลประทาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยลดพื้นที่น้ำท่วม รวมทั้งโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของ กทม. โดยมีการปรับปรุงสถานนีสูบน้ำพระโขนง การก่อสร้างเขื่อนคลองหนองบอน เขื่อนคลองมะขามเทศ เพื่อลดผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ พร้อมทั้ง เห็นชอบการขยายระยะเวลาและกรอบวงเงิน โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล - บางไทร และโครงการปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขา พังงา - ภูเก็ต เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบประปา รองรับการขยายตัวของชุมชนเมือง
จากนั้น ร่วมพิจารณาและเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำปี 2567 จำนวน 63,589 รายการ วงเงิน 337,736 ล้านบาท โดยให้ความเร่งด่วน 26,421 โครงการ วงเงิน 184,530 ล้านบาท ในพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินการด้านต่างๆ ประกอบด้วย การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย การอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ และด้านบริหารจัดการ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ สามารถเพิ่มความจุเก็บกักน้ำกว่า 1,400 ล้าน ลบ.ม.พื้นที่รับประโยชน์ 6.23 ล้านไร่ ประชาชนได้ประโยชน์ 5.64 ล้านครอบครัว และพื้นที่ได้รับการป้องกัน 5.37 ล้านไร่
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร กำชับกรมชลประทานและหน่วยเกี่ยวข้อง เพิ่มน้ำหนักในการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงของโครงการให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีปัญหาการขยายระยะเวลาและกรอบวงเงิน พร้อมทั้งขอให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณากลั่นกรองโครงการอย่างรอบคอบ โดยหลายโครงการมีความสำคัญต่อการลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประชาชนในหลายพื้นที่บ้าง จึงขอให้พิจารณาดำเนินการให้กระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
นอกจากนี้ ยังร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็นชอบ โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ตั้งแต่อยุธยา-สมุทรปราการ และฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ อยุธยา-สมุทรสาคร เพื่อระบายน้ำเหนือ-ใต้ ออกสู่ทะเลทั้งสองฝั่ง โดยปรับปรุงโครงข่ายชลประทาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยลดพื้นที่น้ำท่วม รวมทั้งโครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของ กทม. โดยมีการปรับปรุงสถานนีสูบน้ำพระโขนง การก่อสร้างเขื่อนคลองหนองบอน เขื่อนคลองมะขามเทศ เพื่อลดผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ พร้อมทั้ง เห็นชอบการขยายระยะเวลาและกรอบวงเงิน โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล - บางไทร และโครงการปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค สาขา พังงา - ภูเก็ต เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบประปา รองรับการขยายตัวของชุมชนเมือง
จากนั้น ร่วมพิจารณาและเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำปี 2567 จำนวน 63,589 รายการ วงเงิน 337,736 ล้านบาท โดยให้ความเร่งด่วน 26,421 โครงการ วงเงิน 184,530 ล้านบาท ในพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินการด้านต่างๆ ประกอบด้วย การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย การอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ และด้านบริหารจัดการ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ สามารถเพิ่มความจุเก็บกักน้ำกว่า 1,400 ล้าน ลบ.ม.พื้นที่รับประโยชน์ 6.23 ล้านไร่ ประชาชนได้ประโยชน์ 5.64 ล้านครอบครัว และพื้นที่ได้รับการป้องกัน 5.37 ล้านไร่
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร กำชับกรมชลประทานและหน่วยเกี่ยวข้อง เพิ่มน้ำหนักในการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงของโครงการให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีปัญหาการขยายระยะเวลาและกรอบวงเงิน พร้อมทั้งขอให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณากลั่นกรองโครงการอย่างรอบคอบ โดยหลายโครงการมีความสำคัญต่อการลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประชาชนในหลายพื้นที่บ้าง จึงขอให้พิจารณาดำเนินการให้กระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด