นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (9 พ.ย. 65) เวลา 13.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม มอบนโยบายและทิศทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ผ่านวีดิทัศน์ เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ในการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดโดยสำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งขับเคลื่อนนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดรัฐบาลดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการและการทำงานของภาครัฐ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการให้บริการออนไลน์ หรือ e-Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทันที ทุกที่ ทุกเวลา และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยวันนี้ รัฐบาล โดยความร่วมมือกันของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดำเนินการออกกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 เพื่อลดข้อจำกัดด้านกฎหมาย พัฒนาการให้บริการประชาชน และขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ต่อจากนี้ การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่มากขึ้น และการให้บริการของหน่วยงานของรัฐแก่ประชาชนจะต้องสามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทุกหน่วยงานจึงต้องเตรียมความพร้อมใน 2 ส่วนหลัก คือ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนในการติดต่อราชการ และระบบสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
นายกรัฐมนตรี ยังย้ำว่า การขับเคลื่อนไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้เป็นจริงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบุคลากร และการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงขอให้ทุกหน่วยงานทั้งราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายฉบับนี้ให้มากที่สุด รวมทั้งกำหนดแผนพัฒนาการให้บริการและการปฏิบัติงาน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ด้านเทคนิคกระบวนงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงานของหน่วยงานตนเอง และเกิดประโยชน์กับประชาชนทุกคน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการและสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน และการให้บริการของภาครัฐทุกภาคส่วน และขอให้ทุกหน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ประสบความสำเร็จในการยกระดับวิธีการปฏิบัติราชการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ตามแนวทางที่กำหนดในกฎหมายฉบับนี้ต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งขับเคลื่อนนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดรัฐบาลดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการและการทำงานของภาครัฐ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการให้บริการออนไลน์ หรือ e-Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทันที ทุกที่ ทุกเวลา และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยวันนี้ รัฐบาล โดยความร่วมมือกันของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดำเนินการออกกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 เพื่อลดข้อจำกัดด้านกฎหมาย พัฒนาการให้บริการประชาชน และขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ต่อจากนี้ การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่มากขึ้น และการให้บริการของหน่วยงานของรัฐแก่ประชาชนจะต้องสามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทุกหน่วยงานจึงต้องเตรียมความพร้อมใน 2 ส่วนหลัก คือ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนในการติดต่อราชการ และระบบสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
นายกรัฐมนตรี ยังย้ำว่า การขับเคลื่อนไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้เป็นจริงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบุคลากร และการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงขอให้ทุกหน่วยงานทั้งราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายฉบับนี้ให้มากที่สุด รวมทั้งกำหนดแผนพัฒนาการให้บริการและการปฏิบัติงาน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ด้านเทคนิคกระบวนงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงานของหน่วยงานตนเอง และเกิดประโยชน์กับประชาชนทุกคน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการและสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน และการให้บริการของภาครัฐทุกภาคส่วน และขอให้ทุกหน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ประสบความสำเร็จในการยกระดับวิธีการปฏิบัติราชการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ตามแนวทางที่กำหนดในกฎหมายฉบับนี้ต่อไป