วันนี้ (4 พ.ย.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 2/2565 โดยมีเลขา สทนช.พร้อมผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมประมง และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมการประชุม
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบในหลักการกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนาครั้งที่ 27 ประกอบด้วย 1 ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 และกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ในเดือนเมษายน 2566 และ 2 การอนุมัติแผนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ปี 2566-2567
นอกจากนี้ ยังรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำตอนล่าง พ.ค.- ต.ค.65 ซึ่งคาดว่า ปลายปี 2565 จะมีปริมาณน้ำมากจากฤดูฝนและสถานการณ์ “เอนโซ่” (ENSO) รวมทั้งรับทราบโครงการเครือข่ายติดตามเฝ้าระวังหลักแม่น้ำโขง และความคืบหน้าของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม สปป.ลาว โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยเน้นย้ำประเด็นข้อกังวลต่าง ๆ ในเรื่องเขตแดนและการกัดเซาะในลำน้ำ
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ย้ำว่า ขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและเขตแดนเป็นสำคัญ และให้มีการศึกษาข้อมูลผลกระทบข้ามพรมแดนให้ชัดเจน เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์และความเป็นเอกภาพของประเทศไทย โดยให้พยายามรักษาความร่วมมือกับประเทศสมาชิก เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์ร่วมกันของแม่น้ำโขงที่ยั่ง
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบในหลักการกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนาครั้งที่ 27 ประกอบด้วย 1 ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 และกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ในเดือนเมษายน 2566 และ 2 การอนุมัติแผนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ปี 2566-2567
นอกจากนี้ ยังรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำตอนล่าง พ.ค.- ต.ค.65 ซึ่งคาดว่า ปลายปี 2565 จะมีปริมาณน้ำมากจากฤดูฝนและสถานการณ์ “เอนโซ่” (ENSO) รวมทั้งรับทราบโครงการเครือข่ายติดตามเฝ้าระวังหลักแม่น้ำโขง และความคืบหน้าของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม สปป.ลาว โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยเน้นย้ำประเด็นข้อกังวลต่าง ๆ ในเรื่องเขตแดนและการกัดเซาะในลำน้ำ
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ย้ำว่า ขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและเขตแดนเป็นสำคัญ และให้มีการศึกษาข้อมูลผลกระทบข้ามพรมแดนให้ชัดเจน เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์และความเป็นเอกภาพของประเทศไทย โดยให้พยายามรักษาความร่วมมือกับประเทศสมาชิก เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์ร่วมกันของแม่น้ำโขงที่ยั่ง