xs
xsm
sm
md
lg

นิด้าโพลเผย"พิธา"มาเป็นอันดับ 1 คนกรุงเชียร์นั่งนายกฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง "คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคน กทม."

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 20.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถ เป็นคนรุ่นใหม่ และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล
อันดับ 2 ร้อยละ 15.20 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนมีความซื่อสัตย์ ชื่นชอบผลงาน ทำให้บ้านเมืองสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 3 ร้อยละ 14.10 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ และต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
อันดับ 4 ร้อยละ 12.20 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 5 ร้อยละ 7.70 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นคนมีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ทำงานทางการเมือง และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
อันดับ 6 ร้อยละ 6.85 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐกิจ มีประสบการณ์ทางการเมือง มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน และชื่นชอบความคิดที่ต้องการพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น
อันดับ 7 ร้อยละ 6.35 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนเด็ดขาด การทำงานมีความโปร่งใส ตรงไปตรงมา
อันดับ 8 ร้อยละ 3.15 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐกิจ มีประสบการณ์ ด้านการบริหาร และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
อันดับ 9 ร้อยละ 3.00 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ชื่นชอบแนวคิดและทัศนคติในการทำงาน
อันดับ 10 ร้อยละ 2.15 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เป็นคนพูดจริงทำจริงมีประสบการณ์ และลงพื้นที่ดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 11 ร้อยละ 1.80 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะเป็นคนมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน ชื่นชอบผลงานในอดีต และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร
อันดับ 12 ร้อยละ 1.50 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อันดับ 13 ร้อยละ 1.15 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่ร้อยละ 4.45 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายเศรษฐา ทวีสิน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายเทวัญลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ และ ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ

เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า

กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง

อันดับ 1 ร้อยละ 18 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 17.75 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
อันดับ 3 ร้อยละ 14.29 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 4 ร้อยละ 11.26 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 5 ร้อยละ 7.79 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)

กลุ่มเขตกรุงเทพใต้

อันดับ 1 ร้อยละ 28 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 15.14 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
อันดับ 3 ร้อยละ 12.86 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 4 ร้อยละ 10.86 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
อันดับ 5 ร้อยละ 8.28 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ

อันดับ 1 ร้อยละ 84 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 17.27 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
อันดับ 3 ร้อยละ 12.37 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 4 ร้อยละ 10.31 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 5 ร้อยละ 8.50 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก

อันดับ 1 ร้อยละ 01 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 18.58 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 3 ร้อยละ 15.16 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 4 ร้อยละ 14.92 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
อันดับ 5 ร้อยละ 6.36 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ

อันดับ 1 ร้อยละ 99 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 14.60 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 3 ร้อยละ 13.87 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
อันดับ 4 ร้อยละ 9.86 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 5 ร้อยละ 7.30 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

กลุ่มเขตกรุงธนใต้

อันดับ 1 ร้อยละ 70 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
อันดับ 2 ร้อยละ 17.53 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
อันดับ 3 ร้อยละ 14.08 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 4 ร้อยละ 12.64 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
อันดับ 5 ร้อยละ 9.20 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

สำหรับพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 28.50 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 26.45 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 9.50 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และยังไม่ตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
อันดับ 4 ร้อยละ 9.45 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 3.05 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า
อันดับ 6 ร้อยละ 2.90 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 2.75 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 9 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า
อันดับ 10 ร้อยละ 1.15 ระบุว่าเป็น พรรคสร้างอนาคตไทย
ขณะที่ร้อยละ 2.60 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคไทยภักดี พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเศรษฐกิจไทยพรรคประชาชาติ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า

กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง

อันดับ 1 ร้อยละ 54 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 2 ร้อยละ 24.24 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 3 ร้อยละ 14.72 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 4 ร้อยละ 8.66 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 5.19 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

กลุ่มเขตกรุงเทพใต้

อันดับ 1 ร้อยละ 71 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 24.00 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 14.00 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 4 ร้อยละ 11.71 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 5.43 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
อันดับ 1 ร้อยละ 41 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 2 ร้อยละ 26.29 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 3 ร้อยละ 11.60 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 9.28 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 6.18 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ

กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก
อันดับ 1 ร้อยละ 03 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 22.01 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 17.36 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 9.78 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 6.60 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ

อันดับ 1 ร้อยละ 93 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 23.72 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 11.31 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 7.66 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 7.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มเขตกรุงธนใต้

อันดับ 1 ร้อยละ 47 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 2 ร้อยละ 31.32 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 3 ร้อยละ 10.63 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 4 ร้อยละ 8.62 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 7.18 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

ด้านพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 28.60 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 26.10 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 9.15 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 9.00 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 6 ร้อยละ 3.25 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า
อันดับ 7 ร้อยละ 2.95 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 8 ร้อยละ 2.85 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 9 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า และพรรคภูมิใจไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน
อันดับ 10 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคสร้างอนาคตไทย
ร้อยละ 2.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเศรษฐกิจไทย และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขต การปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า

กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง

อันดับ 1 ร้อยละ 54 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 23.81 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 14.29 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 4 ร้อยละ 9.96 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 6.06 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

กลุ่มเขตกรุงเทพใต้
อันดับ 1 ร้อยละ 86 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 25.43 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 11.71 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 4 ร้อยละ 9.71 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 5.43 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน

กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ

อันดับ 1 ร้อยละ 87 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 2 ร้อยละ 26.55 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 3 ร้อยละ 13.40 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 8.76 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 6.44 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ

กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก
อันดับ 1 ร้อยละ 54 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 22.01 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 17.11 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 8.56 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 6.36 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ

อันดับ 1 ร้อยละ 10 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 24.09 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 10.58 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 4 ร้อยละ 8.40 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 5 ร้อยละ 7.67 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มเขตกรุงธนใต้
อันดับ 1 ร้อยละ 61 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล ในสัดส่วนที่เท่ากัน
อันดับ 2 ร้อยละ 10.06 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 3 ร้อยละ 9.48 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 4 ร้อยละ 7.47 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 5 ร้อยละ 2.59 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย