วันนี้ (17 ต.ค.) นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศในปัจจุบัน มีปริมาณน้ำรวมกัน 63,682 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างฯ ยังสามารถรับน้ำได้อีก 13,297 ล้านลูกบาศก์เมตร เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีปริมาณน้ำรวมกัน 20,335 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 4,587 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ปริมาณฝนตกจะเริ่มเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ตั้งแต่บริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไป จึงได้มอบหมายให้สำนักงานชลประทานในพื้นที่ภาคใต้ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 โดยวางแผนการบริหารจัดการน้ำ การคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมเฝ้าระวังและควบคุมปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด พิจารณาปรับการระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้น โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ท้ายอ่าง รวมทั้งตรวจสอบอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ หมั่นกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญให้บูรณการร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัดในการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ปริมาณฝนตกจะเริ่มเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ตั้งแต่บริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ลงไป จึงได้มอบหมายให้สำนักงานชลประทานในพื้นที่ภาคใต้ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 โดยวางแผนการบริหารจัดการน้ำ การคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมเฝ้าระวังและควบคุมปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด พิจารณาปรับการระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้น โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ท้ายอ่าง รวมทั้งตรวจสอบอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ หมั่นกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญให้บูรณการร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัดในการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด