นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้การป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เพื่อไม่ให้ยาเสพติดมีที่ยืนในสังคมไทย
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากภัยยาเสพติดโดยที่ผ่านมาได้มีการสั่งการเข้มข้นให้ทุกพื้นที่ลด Demand และ Supply ของยาเสพติด รวมถึงการมองผู้เสพหรือติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟู พร้อมทั้งพัฒนาทักษะและฝึกอาชีพ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ในสังคม ถือเป็นการคืนคนดีสู่สังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีกระบวนการติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษา ด้วยกลไกในระดับพื้นที่ และกลไกชุมชนหมู่บ้าน ในการสอดส่อง เฝ้าระวัง เเละป้องปราบไม่ให้มีการกระทำความผิด ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้กรมการปกครอง เร่งศึกษา ทบทวน และพัฒนาเเนวทางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลติดตามและไม่ให้มีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น) ได้เเจ้งแนวทางการป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563ให้ทุกจังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 สืบเนื่องจากกรณีโศกนาโกรรมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยผู้ก่อเหตุมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญและกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานการป้องกัน และแก้ไขยาเสพติดในพื้นที่ จึงได้จัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การบำบัดรักษายาเสพติด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการเชิงรุก โดยจัดตั้งศูนย์คัดกรองเพื่อคัดกรองและประเมินความรุนแรงของการติดยาเสพติด ภาวะความเสี่ยงทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงปัญหาด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับการติดยาเสพติด และวิเคราะห์จำแนกระดับความรุนแรง และวางแผนการดูแลบำบัดรักษาหรือการส่งต่อที่เหมาะสม รวดเร็วและปลอดภัย และจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม เพื่อให้การสงเคราะห์สนับสนุนให้ผู้ติดยาเสพติด หรือ ผู้ผ่านการบำบัดรักษาได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ ตลอดจน การติดตามดูแลช่วยเหลือจนสามารถกลับมาดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
ด้านที่ 2 คือ การป้องกันยาเสพติด ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของหมู่บ้าน/ชุมชน ในการสร้างภูมิคุ้มกัน การเฝ้าระวัง การค้นหา การรักษา การให้โอกาส การดูแลและช่วยเหลือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และด้านที่ 3 งบประมาณ เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมี 3 แนวทาง ได้แก่ 1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณในเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2. กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ ให้พิจารณาโอนงบประมาณรายจ่ายรายการที่มีความจำเป็นน้อยกว่า มาตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563 หากไม่สามารถโอนงบประมาณมาตั้งเป็นรายการใหม่ได้ อาจขอยกเว้นต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย นำเงินสะสมมาใช้จ่ายได้ ตามข้อ 4 ประกอบกับ ข้อ 89 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนแล้ว ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1268/2563 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 และ 3. กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้ดำเนินการเอง อาจอุดหนุนงบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หน่วยงานอื่น ได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรภาคประชาชน องค์กรทางศาสนา หรือองค์กรการกุศลได้ โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.6/ว 5270 ลงวันที่ 22 ก.ค. 2565
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดรายงานผลการดำเนินงานพร้อมทั้งข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทุกวันที่ 5 ของเดือน โดยเริ่มรายงานครั้งแรกวันที่ 21 ตุลาคม 2565
นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และพี่น้องประชาชนทุกคน ร่วมเป็นพันธมิตรในการทำสงครามกับยาเสพติดในครั้งนี้ ถึงเวลาเเล้วที่จะต้อง Change for Good ลุกขึ้นมาเอาจริงเอาจังขจัดยานรกให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ด้วยการเฝ้าระวังเเละเป็นหูเป็นตาให้กับฝ่ายปกครอง โดยสามารถเเจ้งเบาะเเสยาเสพติด หรือ บุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอาจก่อให้เกิดภัยแก่สังคมโดยรวม หรือ การกระทำความผิดอื่น ๆ ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ หรือ โทรศัพท์สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ข้อมูลการเเจ้งเบาะเเส หรือ การร้องเรียนจะถูกปกปิดเป็นความลับ พร้อมทั้งดูแลมิให้ผู้ร้องเรียนได้รับภัยในภายหลังจากการร้องเรียน
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากภัยยาเสพติดโดยที่ผ่านมาได้มีการสั่งการเข้มข้นให้ทุกพื้นที่ลด Demand และ Supply ของยาเสพติด รวมถึงการมองผู้เสพหรือติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟู พร้อมทั้งพัฒนาทักษะและฝึกอาชีพ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ในสังคม ถือเป็นการคืนคนดีสู่สังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีกระบวนการติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษา ด้วยกลไกในระดับพื้นที่ และกลไกชุมชนหมู่บ้าน ในการสอดส่อง เฝ้าระวัง เเละป้องปราบไม่ให้มีการกระทำความผิด ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้กรมการปกครอง เร่งศึกษา ทบทวน และพัฒนาเเนวทางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลติดตามและไม่ให้มีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น) ได้เเจ้งแนวทางการป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563ให้ทุกจังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 สืบเนื่องจากกรณีโศกนาโกรรมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยผู้ก่อเหตุมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญและกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานการป้องกัน และแก้ไขยาเสพติดในพื้นที่ จึงได้จัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การบำบัดรักษายาเสพติด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการเชิงรุก โดยจัดตั้งศูนย์คัดกรองเพื่อคัดกรองและประเมินความรุนแรงของการติดยาเสพติด ภาวะความเสี่ยงทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงปัญหาด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับการติดยาเสพติด และวิเคราะห์จำแนกระดับความรุนแรง และวางแผนการดูแลบำบัดรักษาหรือการส่งต่อที่เหมาะสม รวดเร็วและปลอดภัย และจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม เพื่อให้การสงเคราะห์สนับสนุนให้ผู้ติดยาเสพติด หรือ ผู้ผ่านการบำบัดรักษาได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ ตลอดจน การติดตามดูแลช่วยเหลือจนสามารถกลับมาดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
ด้านที่ 2 คือ การป้องกันยาเสพติด ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของหมู่บ้าน/ชุมชน ในการสร้างภูมิคุ้มกัน การเฝ้าระวัง การค้นหา การรักษา การให้โอกาส การดูแลและช่วยเหลือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และด้านที่ 3 งบประมาณ เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมี 3 แนวทาง ได้แก่ 1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณในเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2. กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ ให้พิจารณาโอนงบประมาณรายจ่ายรายการที่มีความจำเป็นน้อยกว่า มาตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563 หากไม่สามารถโอนงบประมาณมาตั้งเป็นรายการใหม่ได้ อาจขอยกเว้นต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย นำเงินสะสมมาใช้จ่ายได้ ตามข้อ 4 ประกอบกับ ข้อ 89 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนแล้ว ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1268/2563 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 และ 3. กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้ดำเนินการเอง อาจอุดหนุนงบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หน่วยงานอื่น ได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรภาคประชาชน องค์กรทางศาสนา หรือองค์กรการกุศลได้ โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.6/ว 5270 ลงวันที่ 22 ก.ค. 2565
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดรายงานผลการดำเนินงานพร้อมทั้งข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทุกวันที่ 5 ของเดือน โดยเริ่มรายงานครั้งแรกวันที่ 21 ตุลาคม 2565
นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และพี่น้องประชาชนทุกคน ร่วมเป็นพันธมิตรในการทำสงครามกับยาเสพติดในครั้งนี้ ถึงเวลาเเล้วที่จะต้อง Change for Good ลุกขึ้นมาเอาจริงเอาจังขจัดยานรกให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ด้วยการเฝ้าระวังเเละเป็นหูเป็นตาให้กับฝ่ายปกครอง โดยสามารถเเจ้งเบาะเเสยาเสพติด หรือ บุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอาจก่อให้เกิดภัยแก่สังคมโดยรวม หรือ การกระทำความผิดอื่น ๆ ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ หรือ โทรศัพท์สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ข้อมูลการเเจ้งเบาะเเส หรือ การร้องเรียนจะถูกปกปิดเป็นความลับ พร้อมทั้งดูแลมิให้ผู้ร้องเรียนได้รับภัยในภายหลังจากการร้องเรียน