xs
xsm
sm
md
lg

ปภ.เผยยังมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 25 จังหวัด โดย 13 จังหวัดระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานว่าจากผลกระทบของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พายุโนรู ประกอบกับมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยช่วงวันที่ 28 กันยายน ถึง 8 ตุลาคม 2565 เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 54 จังหวัด ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ใน 25 จังหวัด ได้แก่

ภาคเหนือ

1. จังหวัดตาก น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก และอำเภอเมืองตาก รวม 5 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,897 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

2. จังหวัดเพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีเทพ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ รวม 17 ตำบล 66หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,120 ครัวเรือน เสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำทรงตัว

3. จังหวัดพิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอวชิรบารมี อำเภอทับคล้อ อำเภอบึงนาราง อำเภอบางมูลนาก อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอวชิรบารมี อำเภอโพทะเล และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง รวม 56 ตำบล 330 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,416 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

4. จังหวัดนครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก อำเภอโกรกพระ อำเภอตาคลี อำเภอชุมแสง รวม 36 ตำบล 328 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,699 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5. จังหวัดชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอเนินสง่า อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบําเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส และอำเภอภูเขียว รวม 11 ตำบล 44 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง

6. จังหวัดขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอชนบท อำเภอน้ำพอง และอำเภอโคกโพธิ์ชัย รวม 11 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

7. จังหวัดมหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 43 ตำบล 494 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,796 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

8. จังหวัดกาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท อำเภอยางตลาด และอำเภอฆ้องชัย รวม 8 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 60 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

9. จังหวัดร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนทราย และอำเภอจังหาร รวม 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,369 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

10. จังหวัดยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอค้อวัง รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

11. จังหวัดนครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสูงเนิน และอำเภอชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,195 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

12. จังหวัดบุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านด่าน อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอนางรอง อำเภอปะคำ อำเภอขำนิ อำเภอบ้านกรวด อำเภอกระสัง อำเภอคูเมือง อำเภอลำปลายมาศ อำเภอแดนดง และอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ รวม 53 ตำบล 242 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 578 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

13. จังหวัดสุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และ อำเภอรัตนบุรี รวม 25 ตำบล 227 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,855 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

14. จังหวัดศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย และอพยพประชาชน 528 ครัวเรือน 2,152 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 23 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

15. จังหวัดอุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขื่องใน และอำเภอตระการพืชผล รวม 28 ตำบล 135 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,373 ครัวเรือน อพยพประชาชน 135 ชุมชน 16,705 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 90 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ภาคกลาง

16. จังหวัดอุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน อำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอลานสัก และอำเภอหนองฉาง รวม 55 ตำบล 466 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,575 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

17. จังหวัดชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอหนองมะโมง และอำเภอหันคา รวม 28 ตำบล 128 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,497 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

18. จังหวัดสิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี รวม 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,620 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

19. จังหวัดอ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย และอำเภอเมืองอ่างทอง รวม 24 ตำบล 102 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,238 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

20. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอพระนครศรีอยุธยา รวม 90 ตำบล 574 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 31,802 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

21. จังหวัดปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,926 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

22. จังหวัดลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล และอำเภอบ้านหมี่ รวม 34 ตำบล 207 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,656 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

23. จังหวัดนครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน อำเภอสามพราน อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอกำแพงแสน อำเภอดอนตูม อำเภอพุทธมณฑล รวม 37 ตำบล 224 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,976 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง

24. จังหวัดนครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ รวม 19 ตำบล 154 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,157 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคตะวันออก

25. จังหวัดปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี และอำเภอประจันตคาม รวม 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,363 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

สำหรับการให้ความช่วยเหลือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย