น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่ขณะนี้ได้ปรากฏกรณีการก่อเหตุความรุนแรง ส่งผลให้มีทั้งผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยหลายกรณีผู้ก่อเหตุมีการใช้สารเสพติด การแก้ไขปัญหานี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งปราบปราบขบวนการค้ายาเสพติด และประชาชนทุกคนในสังคม ที่หากเป็นผู้ติดสารเสพติด มีบุคคลในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ขอให้เร่งเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยด่วน
ทั้งนี้ หากปล่อยให้มีการเสพยาเป็นระยะเวลานาน จะเป็นต้นเหตุของการกระทำความรุนแรงต่างๆ เนื่องจากยาเสพติดมีผลให้สมองถูกทำลาย ความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลลดลง มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ก้าวร้าว หงุดหงิด เกิดอาการทางจิตประสาท ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เป็นสาแหตุของการก่อความรุนแรง และนำไปสู่การก่อเหตุสลดในสังคมซ้ำๆ ได้
ปัจจุบันผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับคำปรึกษาเบื้องต้นก่อนเข้ารับการบำบัดรักษาหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลตำรวจ ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ ยังมีช่องทางของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ที่สายด่วนบำบัดยาเสพติด 1165 และสายด่วนเลิกยาเสพติด ผ่านศูนย์ดำรงธรรม 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงช่องทาง Line Official "ห่วงใย" โดยสามารถค้นหาโดยใช้ คำว่า @1165huangyai ซึ่งเป็นระบบแชทบ็อตตอบคำถามอัตโนมัติ ที่ตอบทุกเรื่องเพื่อประเมินตัวเองเกี่ยวกับการติดสารเสพติดและการให้คำปรึกษา การตอบคำถามที่พบบ่อยเพื่อเป็นแนวปฏิบัติเบื้องต้น หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เมื่อได้รับคำปรึกษาแล้วยังสามารถติดต่อเพื่อเข้ารับการบำบัดได้ที่สถาบันบำบัดที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้แก่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี โรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสายด่วนบำบัดยาเสพติด 1165 และเว็บไซต์ของ สบยช. ที่ www.pmnidat.go.th
ทั้งนี้ หากปล่อยให้มีการเสพยาเป็นระยะเวลานาน จะเป็นต้นเหตุของการกระทำความรุนแรงต่างๆ เนื่องจากยาเสพติดมีผลให้สมองถูกทำลาย ความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลลดลง มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ก้าวร้าว หงุดหงิด เกิดอาการทางจิตประสาท ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เป็นสาแหตุของการก่อความรุนแรง และนำไปสู่การก่อเหตุสลดในสังคมซ้ำๆ ได้
ปัจจุบันผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับคำปรึกษาเบื้องต้นก่อนเข้ารับการบำบัดรักษาหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลตำรวจ ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ ยังมีช่องทางของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ที่สายด่วนบำบัดยาเสพติด 1165 และสายด่วนเลิกยาเสพติด ผ่านศูนย์ดำรงธรรม 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงช่องทาง Line Official "ห่วงใย" โดยสามารถค้นหาโดยใช้ คำว่า @1165huangyai ซึ่งเป็นระบบแชทบ็อตตอบคำถามอัตโนมัติ ที่ตอบทุกเรื่องเพื่อประเมินตัวเองเกี่ยวกับการติดสารเสพติดและการให้คำปรึกษา การตอบคำถามที่พบบ่อยเพื่อเป็นแนวปฏิบัติเบื้องต้น หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เมื่อได้รับคำปรึกษาแล้วยังสามารถติดต่อเพื่อเข้ารับการบำบัดได้ที่สถาบันบำบัดที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้แก่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี โรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสายด่วนบำบัดยาเสพติด 1165 และเว็บไซต์ของ สบยช. ที่ www.pmnidat.go.th